‘แบมะ ฟาตอนี’
กลายเป็นกระแสดังเพียงชั่วข้ามคืนเมื่อสื่อต่างๆ
พร้อมใจกันพาดหัวข่าว แห่แชร์ไฮโซสาวใช้เวลา
3 ปี ใน 3 จ.ชายแดนใต้
กับคำถามคาใจ ‘ทำไมที่นี่จึงเกิดความไม่สงบ?’
พร้อมกันนี้ได้มีการแชร์ต่อในโลกออนไลน์นับพันครั้งสำหรับบทสัมภาษณ์พิเศษของ deepsouthwatch
journalism school โรงเรียน นักข่าวชายแดน ใต้ (DSJ) ที่นำเรื่องราวของ นางสาวภักดิ์กมล ศิริวัฒน์
หรือ “Nan Siri” ไฮโซสาว บุตรสาว “บิ๊กแนต” ชัยภักดิ์
ศิริวัฒน์ อดีตหัวหน้าพรรคราษฎร
และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
และกระทรวงมหาดไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์หลายสมัย
อะไร?
คือสาเหตุที่มีคนแชร์ต่อเป็นจำนวนมาก หรือมีอะไรที่โดนใจ!! ผู้คนเหล่านั้น ซึ่งหลายคนต่างกล่าวถึงเธอผู้นี้ อีกทั้งสื่อหลายสำนักต่างพร้อมใจกันนำเสนอ
และบางสำนักอย่างเช่น ‘มติชน’
กลับมีการถอนในภายหลัง
ต้องยอมรับว่า
กระแสการทำวิจัยของ 'น่าน' ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ กำลังมาแรง สาเหตุหนึ่งมาจากความน่ารัก
และความเป็นไฮโซสาวทายาทนักการเมืองดัง อีกทั้งยังได้รับการปั่นกระแสจากนักกิจกรรมทางการเมืองนำเสนอในสื่อในความควบคุมอย่างเช่น
เว็บไซต์ประชาไท และ deepsouthwatch
นอกจากนี้ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ในเฟสบุ๊คส่วนตัวของ
นายทวีศักดิ์ ปิ อดีตบรรณาธิการสำนักสื่อวาร์ตานี นายมูฮำหมัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้
หรืออีกหลายๆ
คนที่อยู่ในร่มเงาของงานการเมืองที่เคลื่อนไหวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีการแชร์ต่อสร้างการรับรู้ในกลุ่มอย่างหลากหลาย
การทำวิทยานิพนธ์
ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ของนางสาวภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ หรือ “Nan Siri” ในหัวข้อ “บทบาทวาทกรรมสำนึกชาตินิยม-พลังของความทรงจำร่วมและความรู้สึกร่วมการเป็นเหยื่อผ่านมุมมองเยาวชนปาตานี/ชายแดนใต้”แค่ชื่อของงานวิจัยชิ้นนี้ความรู้สึกอารมณ์ร่วมของคนในพื้นที่ที่คิดต่าง
ได้ถูกจุดติดแล้วโดยไม่จำเป็นต้องอ่านในเนื้อหา
'น่าน' ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อายุ 26
ลงพื้นที่ 3 ปี ทำวิจัยจากคำถามคาใจตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนมัธยม
(ร.ร.นานาชาติในกรุงเทพฯ) ว่าทำไมจึงเกิดความไม่สงบ เธอได้ทำงานวิจัยชิ้นนี้ได้อย่าง
น่าทึ่ง น่าชื่นชม ให้มุมมองที่หลากหลาย แต่ยังมีบางประเด็นที่เป็นจุดอ่อน
จุดด้อยให้ฝ่ายการเมืองที่สนับสนุนกลุ่มขบวนการนำไปแสวงประโยชน์
การลงพื้นที่ของไฮโซ
'น่าน' ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ ตลอดระยะเวลา 3 ปี
ได้ซึมซับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่โดยเฉพาะพี่น้องมุสลิม
การตอบรับของผู้คนในการทำวิจัย ผู้เขียนได้กล่าวไปแล้วว่าแค่เห็นหัวข้ออารมณ์ความรู้สึกร่วมมาถูกที่ถูกเวลา
ฉะนั้นการให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ ไม่ต้องกล่าวถึง ทุกคนทุกฝ่ายต่างหลั่งไหลมาสู่ตัวเธอในทันทีโดยมีทีมภาคการเมืองปาตานีหนุนหลัง
สิ่งที่ผู้เขียนกลัวและไม่อยากเห็นคือการที่
'น่าน' ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ นักศึกษาปริญญาเอก นักเรียนนอกจะกลายเป็นหุ่นเชิดของคนบางกลุ่ม
เป็นปากเป็นเสียงในการเดินเกมทางการเมือง เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย “Merdeka”อย่างกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับตัว นายฮาร่า ชินทาโร่ หรือนามมุสลิม “บาดีอุซมาน”ชาวญี่ปุ่นเขยแห่งสายบุรี นักแปลสารแห่งมลายูปัตตานี
ที่หลงกับดักเข้าไปสู่วังวน เป็นตัวเด่นตัวชูโรงในเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทุกอริยบถของ
‘ฮาร่า’ ทุกก้าวย่างมีนัยสำคัญ
วาทกรรมที่มีการกล่าวพร้อมได้รับการขยายผล
สิ่งที่ 'น่าน' ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ ได้รับรู้มาจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพียงพอหรือยัง
และครอบคลุมหรือไม่? อย่างไร? หรือเป็นแค่ข้อมูลเพียงด้านเดียว เพราะเท่าที่ทราบมาการลงพื้นที่ทำงานวิจัยของ'น่าน ' ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์
อยู่กับองค์กรภาคประชาสังคม กับกลุ่มภาคการเมืองที่เคลื่อนไหวย้อนแย้งกับรัฐ
การรับข้อมูลด้านเดียวมีตัวอย่างให้เห็นมาแล้ว
เช่นกรณีการเมืองไทยมีการแบ่งพรรค แบ่งฝ่ายด้วยสีเสื้อ
หน่วยงานของรัฐได้มีการจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปปะปนฟังการปราศรัยในเวทีเหล่านั้นเพื่อสืบราชการลับ
ปรากฏว่านานวันเข้าจากการได้รับข้อมูลข่าวสารเพียงด้านเดียวของเจ้าหน้าที่คนนั้น
กลับซึมซับรับสื่อมีความเห็นคล้อยตามกับสิ่งที่ได้รับได้ฟังมา จนกลายเป็นเสื้อแดง
เสื้อเหลือง..
เฉกเช่นเดียวกับ
'น่าน' ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ กล่าวว่า “ในอดีตบางคนพยายามพูดว่าปอเนาะเป็นแหล่งบ่มเพาะโจร..ในปัจจุบันเป็นความเชื่อของคนจำนวนหนึ่งว่าโรงเรียนเอกชนสอนศาสนามาเป็นที่บ่มเพาะโจรแทน..
ข้อกล่าวหานี้น่านไม่เห็นด้วย”
กรณีปอเนาะญีฮาด
น่าน'
ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ กล่าวว่า
ในแง่ความรู้สึกร่วมในการมองตัวเองเป็นเหยื่อในพื้นที่ขัดแย้ง มีความชัดเจนมาก
จากเหตุการณ์ใหญ่ๆ เช่น
ตากใบ...สู่เหตุการณ์ที่อาจจะไม่ได้มีผู้สูญเสียในจำนวนมากๆ แต่เป็นเสมือนแผลต่างจิตใจ
เช่น กรณีปอเนาะญีฮาด (โรงเรียนญีฮาดวิทยา อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
ที่ถูกศาลสั่งยึดที่ดินโทษฐานที่ใช้สนับสนุนการก่อการร้าย)
การไม่ศึกษาความเป็นมาและต้นตอเหตุของการเกิดเหตุการณ์ของ
น่าน'
ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ แต่มาจับประเด็นความรู้สึกที่ปลายเหตุ
ต้องการสื่อวาทกรรมของพี่น้องมุสลิมในพื้นที่ มุ่งต้องการวิจัยในหัวข้อที่ตนเองตั้งเป้า
ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาไฟใต้ใดๆ เลย ไม่เคยคิดถึงหัวอกของพี่น้องไทยพุทธ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ที่น่าสงสารว่าคนเหล่านี้คิดอย่างไร?
มีความรู้สึกอย่างไรต่องานวิจัยที่เกิดขึ้น
ย้อนรอยความฝันวัยเด็ก 'น่าน' ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ อยากเป็นนักการทูตตามรอยคุณปู่
ในขณะที่ 'น่าน' ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ เรียนอยู่เกรด 9
(มัธยมศึกษาปีที่ 3) โรงเรียนนานาชาติ อนาคตเธออยากเรียนต่อที่จุฬา คณะรัฐศาสตร์
เพราะชอบการสื่อสารกับคนอื่น
และมองเห็นเป็นความสำคัญของการใช้ชีวิตในสังคมเมืองใหญ่
มันจึงเป็นแรงผลักดันให้เธออยากพูดได้หลายๆ ภาษา น่าน กำลังติวเข้มเรียนภาษาจีนและอังกฤษ
เพิ่มเติม หลังจากตั้งเป้าแล้วว่าอยากเป็นทูตเหมือนคุณปู่ ( พลเรือตรีชอบ
ศิริวัฒน์ ร.น. อดีตทูตทหารเรือไทยประจำประเทศฝรั่งเศส)
ความฝันใหม่ของน่าน' ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ ในปัจจุบัน
จากคำสัมภาษณ์
'น่าน' ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ บอกว่าแน่นอนเธอ “อยากกลับมาที่นี่ อยากมาทำงานองค์กรทำงานภาคประชาสังคม
เพราะจากที่ได้สัมผัสในพื้นที่แล้ว เวลาลงพื้นที่ได้ไปมีส่วนร่วมในการช่วยคน
มันเป็นความรู้สึกดีที่เกินคำบรรยาย..ในสอง-สามปีที่ผ่านมา
ถ้าไม่ได้มีคนในพื้นที่เปิดรับน่านเข้ามา น่านก็ไม่มีวันทำงานได้อย่างที่ทำไป...
บางคนก็ดูแลกันเชิงพี่น้อง คอยให้ความช่วยเหลือเสมอต้นเสมอปลาย
งานชิ้นนี้ไม่มีทางเป็นได้ ถ้าไม่มีทุกคนที่ผ่านเส้นทางมาร่วมทางเดินด้วยกัน..”
อะไร?
คือสาเหตุทำให้ ‘น่าน' ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ เปลี่ยนความฝันตัวเองทั้งๆ
ที่อยากทำงานเป็นนักการทูต เพื่อเป็นตัวแทนของรัฐบาลไทยในการพูดคุย การลงพื้นที่ทำงานวิจัยของเธอสามารถเปลี่ยนความฝันได้ถึงเพียงนี้เชียวหรือ?
การลงพื้นที่ของ
'น่าน' ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ ลองทำหัวข้ออื่นดูสิ
งานวิจัยที่ไม่หนุนเสริมความคิดต่างของคนกลุ่มนี้ว่าจะเกิดอะไร? ขึ้น
การลงพื้นที่สามปีเธอจะมีความปลอดภัยมานั่งเล่าประสบการณ์ให้เราฟังกันหรือ?..ผู้เขียนเองก็ไม่สามารถคาดเดาได้
การที่ทุกคนให้ความร่วมมือในงานวิจัยของเธอจนกระทั่งผ่านพ้นไปด้วยดี ด้วยการเปิดบ้าน
เปิดมัสยิดต้อนรับ เพราะอะไร? ต่อให้เด็กจบชั้น ป.4 ไม่จบปริญญาเอกก็พอมองออก ที่ 'น่าน' ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ อยู่รอดปลอดภัยมีความภาคภูมิใจ
แต่อย่าลืมว่าหากดำเนินกับความฝันใหม่ในการทำงานภาคประชาสังคม หากลงมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาไฟใต้ก็เป็นสิ่งที่ดี
ยอมรับได้ แต่หากลงมาแล้วกลับมาสนับสนุนกลุ่มขบวนการ
กลุ่มปีกการเมืองในการหนุนเสริมให้บรรลุเป้าหมาย Merdeka ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ..คุณก็จะได้รับการตราหน้าคนไทยขายชาติขายแผ่นดินคนหนึ่ง.
--------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น