6/23/2562

ลงทะเบียน 2 แชะอัตลักษณ์ ใครได้-ใครเสีย?


     

จากกรณี ที่มีการเคลื่อนไหวของเพจบางเพจในสื่อโซเซียล   ไม่เห็นด้วยกับการลงทะเบียนซิมโทรศัพท์  การสแกนใบหน้าและอัตลักษณ์ ในพื้นที่ จชต.   ว่ามีความสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยอ้างรัฐธรรมนูญ ข้อกฎหมายมาตรานั้น มาตรานี้  จนถึงขั้นเชิญชวนพี่น้อง ประชาชน ร่วมลงชื่อสนับสนุนคว่ำบาตรการดำเนินการดังกล่าว ในเวบเพจ change.org นั้น
      ในข้อเท็จจริง โครงการนี้ เริ่มดำเนินการ จริงจัง ตั้งแต่ ธ.ค.60 ซึ่งเป็นการขอความร่วมมือประชาชนทั้งประเทศ มาลงทะเบียนซิมโทรศัพท์  ซึ่งไม่ได้บังคับใช้ เฉพาะพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่ง การออกมาเรียกร้องของคนกลุ่มหนึ่ง จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า ใครได้ - ใครเสียประโยชน์ จากการดำเนินการนี้ ซึ่ง พวกเรา พอจะร่วมวิเคราะห์ ได้ว่า
       ผู้ได้ประโยชน์ คือ 1.พี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์  เพราะสามารถคุ้มครองสิทธิประโยชน์ต่างๆของบุคคลด้วยระบบอัตลักษณ์   ป้องกัน การขโมยตัวตนบุคคลอื่นไปทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมายทางการเงิน การก่อเหตุรุนแรงต่างๆ ในพื้นที่  ผกร. ไม่สามารถสวมอัตลักษณ์ ซื้อซิมโทรศัพท์มาก่อเหตุ ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น  2.เจ้าหน้าที่รัฐ สามารถบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มก่อเหตุ ผู้ให้การสนับสนุนและแนวร่วมจาก อัตลักษณ์ที่บ่งชี้ ได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
       ผู้เสียประโยชน์ คือ 1.กลุ่มก่อความไม่สงบ และแนวร่วม  ซึ่งมักใช้เบอร์ซิมการ์ดที่จดทะเบียนด้วยบัตรประชาชนผู้อื่น หรือสั่งซื้อซิมการ์ดผ่านอินเตอร์เน็ตจากนอกพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้าน มาก่อเหตุ ภายหลังจากที่ลงทะเบียนซิมแล้ว กลุ่มคนร้าย จะถูกสืบสวน เพื่อจับกุมดำเนินคดีได้ โดยง่าย จะไม่สามารถอ้างได้ว่าเบอร์โทรศัพท์หาย หรือ ไม่ได้เป็นผู้ใช้งาน  2.กลุ่มธุรกิจผิดกฎหมาย กลุ่มมิจฉาชีพ ซึ่งใช้โทรศัพท์ ทำธุรกรรมด้านมืด หากินบนความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมานาน  เมื่อถูก จนท.ตรวจสอบหรือติดตามความเคลื่อนไหว  จนนำไปสู่การถูกกวาดล้าง ทั้งเครือข่าย อาจเข้าไปนอนในคุก หมดอิสระภาพ
       สำหรับ กรณีการใช้ข้อมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพื้นที่ จชต. ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พบว่า กระทบกระเทือน เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยของพี่น้องประชาชน ทั้งนี้ มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ชัดเจน  การเชิญร่วมลงทะเบียนซิมการ์ด จึงเป็นการดำเนินการโดยสมควร เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ หรือ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องกันประโยชน์สาธารณะ อีกด้วย
       ปัจจุบันตามร้านซื้อ-ขายโทรศัพท์  มีคนมาเปิดเบอร์ใหม่ทุกวัน และทุกคน ก็ต้องการให้สแกนใบหน้าเพื่อป้องกันผู้สวมสิทธิ์ ไปก่อคดีความต่างๆ ไม่มีใครขัดข้อง ไม่ยอมให้สแกนใบหน้า คงที่จะมีแค่ในพื้นที่ จชต. ที่พวกองค์กรภาคประชาสังคม องค์กรสิทธิ กลุ่มผู้มีอิทธิพล และกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง รวมถึง Muhummadrusdy, Romadon Panjor ,Anchana Heemmina และRosidah ออกมาดิ้นพล่าน เหมือนไส้เดือน โดนน้ำร้อนลวก..จึงสงสัยว่า คนพวกนี้ อยู่กลุ่มไหน?


---------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น