การรวมตัวของบรรดาเยาวชนชาย-หญิง ภายใต้คอนเซป “อนุรักษ์วัฒนธรรมมลายู เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของเยาวชน” เมื่อวันที่ 7 - 8 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในช่วงวันเฉลิมฉลอง
วันฮารีรายออีดิ้ลฟิตรี ฮ.ศ.1440
ที่จัดขึ้น ณ มัสยิด กรือเซะ จ.ปัตตานี
และตามสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ฟื้นฟู อนุรักษ์
วัฒนธรรมมลายู
พร้อมกับเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม มากกว่า
3,000 คน โดยกิจกรรมหลักในงาน จะมีการถ่ายรูปหมู่ ในขณะสวมใส่ชุดรายอ
การฟังบรรยายประวัติศาสตร์จากวิทยากรที่มีความรู้ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยการเก็บขยะตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้
เป็นที่น่าชื่นชมกับกลุ่มเยาวชนที่ออกมาแสดงออกถึงอัตลักษณ์ในพื้นที่ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่อชุมชน
ทำให้ผู้เขียน เกิดความสงสัยและอยากรู้ขึ้นมาว่า...ใครเป็นผู้ริเริ่มการจัดกิจกรรมในครั้งนี้?
หัวเรือใหญ่ในการจัดกิจกรรมก็
คือ นายฮาซัน ยามาดีบุ ประธานสำนักบุหงารายา และนายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ ประธานมูลนิธินูซันตารา
เพื่อเด็กกำพร้า เป็นที่น่าเคลือบแคลงใจว่า...การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีอะไรที่แอบแฝงหรือไม่
ซึ่งเรามาย้อนดูประวัติและวีรกรรมของท่านประธานทั้งสองกันเล็กน้อย
นายฮาซัน ยามาดีบุ ประธานสำนักบุหงารายา เคยเป็นข่าวฉาวว่า ผลิตเสื้อและสกรีนภาพบนเสื้อที่สื่อไปทางแนวความคิดแบ่งแยกดินแดนจนเป็นข่าวดัง ก่อนจะออกมาแก้ต่างว่า เป็นแค่การโปรโมทเสื้อตาดีกาจังหวัดชายแดนใต้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม นายฮาซัน เป็นพี่ชายของ นายซีระฮารี ยามาดีบุ ซึ่งเป็นสมาชิกแนวร่วมอาร์เคเค ที่ร่วมก่อเหตุยิงแล้วเผา ส.อ.จักรพงษ์ โพนเงิน อายุ 37 ปี และ อส.ธวัชชัย มณีแสง อายุ 31 ปี สังกัดกองร้อยทหารพรานที่ 4404 กรมทหารพรานที่ 44 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2550
นายฮาซัน ยามาดีบุ ประธานสำนักบุหงารายา เคยเป็นข่าวฉาวว่า ผลิตเสื้อและสกรีนภาพบนเสื้อที่สื่อไปทางแนวความคิดแบ่งแยกดินแดนจนเป็นข่าวดัง ก่อนจะออกมาแก้ต่างว่า เป็นแค่การโปรโมทเสื้อตาดีกาจังหวัดชายแดนใต้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม นายฮาซัน เป็นพี่ชายของ นายซีระฮารี ยามาดีบุ ซึ่งเป็นสมาชิกแนวร่วมอาร์เคเค ที่ร่วมก่อเหตุยิงแล้วเผา ส.อ.จักรพงษ์ โพนเงิน อายุ 37 ปี และ อส.ธวัชชัย มณีแสง อายุ 31 ปี สังกัดกองร้อยทหารพรานที่ 4404 กรมทหารพรานที่ 44 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2550
การเคลื่อนไหวของกลุ่มบุหงารายา มักจะเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์ การแบ่งแยกดินแดนอยู่บ่อยครั้ง
บังหน้าด้วยมูลนิธิที่ดูจะแสนดี แต่แอบขับเคลื่อนแนวทางแบ่งแยกดินแดน
หรือการกำหนดใจตนเอง (RSD) นายฮาซัน มักจะออกมาพร้อมกับกลุ่ม
NGO ที่เคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
ที่คอยจ้องโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐ และปกป้องกลุ่มแนวร่วมฯ ล่าสุด
นายฮาซันออกมาเคลื่อนไหว กรณีการปะทะ ที่ บ้านกาตอง อ.ยะหา จ.ยะลา เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม
ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 2 นาย
และคนร้ายซึ่งเป็นแกนนำรายสำคัญ มีหมายจับ ป.วิอาญา 6 หมาย ถูกวิสามัญเสียชีวิต โดยในขณะเจรจาได้เกิดเพลิงไหม้บ้านหลังเกิดเหตุ
เสียหายทั้งหลัง แต่นายฮาซัน กลับเผยแพร่คลิป ปกป้องโจรใต้
และเจ้าของบ้านที่ให้ที่พักพิงเป็นภาษามาเลย์ บิดเบือนข้อเท็จจริงว่า บ้านหลังที่เกิดไฟไหม้
เป็นเพราะเจ้าหน้าที่ทหารของไทย จำนวน 500 นาย ได้ยิงอาวุธปืน M79 เข้าใส่ จำนวน 7 ลูก
ประธานท่านที่สอง
นายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ ประธานมูลนิธินูซันตารา เพื่อเด็กกำพร้า เป็นที่ปรึกษากลุ่มนักศึกษา
PerMAS
กลุ่มเยาวชนที่เคลื่อนไหวเรื่อง
การแบ่งแยกดินแดน มูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ หรือ แบดี
เป็นแกนนำกลุ่มภาคประชาสังคมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นพี่เขยนายอัมรีย์ วรรณมาตร
(สกุลเดิม/หะยีอาแซ)/ยี ซึ่งยอมรับว่า
มีส่วนเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์ลอบวางระเบิด บริเวณถนน ณ นคร
อ.เมือง จ.นราธิวาส เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งนายอัมรีย์ วรรณมาตร
เป็นลูกชายของนายวาเหะ หะยีอาแซ สมาชิกกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ระดับแกนนำ
นายมูฮำหมัดอาลาดี แต่งงานกับยุสรีนา ลูกสาวของนายวาเหะ ซึ่งต่างก็รู้ว่าคนในครอบครัวนี้
ทำอะไร จุดประสงค์ใด การตบตาเจ้าหน้าที่รัฐ โดยการเปิดมูลนิธิเพื่อเด็กกำพร้า บังหน้า
และขอรับเงินทุนจากต่างชาติ โดยอ้างว่า เป็นมูลนิธิเพื่อเด็กกำพร้า ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งภายในประเทศ
และแสวงประโยชน์ โดยการสอนเด็ก ปลุกระดม ให้มีความเกลียดชังเจ้าหน้าที่รัฐ
และมีแนวความคิดแบ่งแยกดินแดน
ด้วยความอยากรู้ของผู้เขียนว่า
ในกิจกรรมดังกล่าว มีการบรรยายอะไรที่เป็นที่น่าสนใจบ้าง? จึงได้สอบถามเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ณ มัสยิดกรือเซ๊ะ ทำให้รู้ว่า...
การบรรยายประวัติศาสตร์ของวิทยากรที่มีความรู้ กับการสอดแทรกด้วยบาดแผลในอดีต ชี้นำทางความคิดในการปลุกระดมมวลชน
ให้เห็นว่าดินแดนที่เรียกว่า ปาตานีแห่งนี้ถูกรุกรานและยึดครอง โดยสยามมาเป็นเวลานับร้อยปี และความเกลียดชังระหว่างรัฐปาตานีกับรัฐไทย
ประสมโรงด้วยความรู้สึกส่วนตัว
อีกทั้งเยาวชนบางกลุ่มที่เข้าร่วมงานถูกคัดมาจากโรงเรียนตาดีกาที่ถูกบ่มเพาะ
และปลูกฝังอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนแล้ว ส่วนเยาวชนคนอื่นๆ ก็ถูกเชิญชวนผ่านสื่อโซเซียล
ซึ่งบางคนยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า ถูกหลอกมาเป็นเครื่องมือและเป็นตัวประกอบในงาน
การจัดกิจกรรม “อนุรักษ์วัฒนธรรมมลายู เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของเยาวชน” เพื่อเฉลิมฉลอง วันฮารีรายออีดิ้ลฟิตรี ฮ.ศ.1440 เป็นกิจกรรมดีๆ ที่น่าส่งเสริม
แต่กลับถูกแสวงประโยชน์จากกลุ่มขบวนการ สร้างวาทกรรม เพื่อสนองอุดมการณ์จอมปลอม เท่านั้นเอง
.........................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น