1/05/2561

ปอเนาะ ตาดีกา คือต้นเหตุแห่งปัญหาไฟใต้จริงหรือ!!

"อิมรอน"


          ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยครับว่า ผู้เขียนไม่ได้หมายความว่า โรงเรียนสอนศาสนาไม่ดีแต่ที่ต้องพูดแบบนี้เพราะด้วย รูปแบบ ของโรงเรียนที่พยายามแยกเยาวชนไทยพุทธไทยมุสลิมในพื้นที่ออกจากกันมากกว่า ผู้เขียนเห็นว่าเป็นตัวการสร้างปัญหาให้สังคมพหุวัฒนธรรมของพวกเราถูกทำลายลง

          ผู้เขียนจะก้าวข้ามเรื่อง เปิดโปงความจริงในปอเนาะไปนะครับ เพราะเคยเขียนเรื่องสถาบันศึกษาปอเนาะหลายตอนด้วยกัน หากสนใจเปิดอ่านได้ตามลิ้งนี้นะครับ http://pulony.blogspot.com/ แต่วันนี้จะมาพูดถึง รูปแบบ และวิธีการของสถาบันศึกษาปอเนาะ, ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด หรือที่คนส่วนใหญ่ชอบเรียกว่า ตาดีกา และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่ ที่จะมากล่าวถึงเรื่องนี้สืบเนื่องมาจากผู้เขียนเองเคยมีโอกาสไปนั่งฟังในเวทีเสวนาเวทีหนึ่ง แต่ไม่ขอกล่าวถึงชื่อวิทยากร คนพุทธกับผู้เห็นต่างที่เป็นมุสลิม ซึ่งได้มีการตั้งโจทย์และถกกันในเรื่องต่างๆ เช่นในเรื่องของ ฮาลาล และอาหารการกินของคนในพื้นที่ และยังมีประเด็นปลีกย่อยอีกหลายเรื่องที่มีการหยิบยกขึ้นมาถกกันในเวทีเสวนา แต่สิ่งที่สะดุดใจผู้เขียนคงจะเป็นการถกกันในเรื่อง การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนเกลียดชังพระสงฆ์ ซึ่งการเสวนาในวันนั้นตัวแทนไทยพุทธได้ตั้งคำถามกับผู้เห็นต่างที่เป็นมุสลิมต่อเรื่องดังกล่าว

คนไทยพุทธ : ทำไม...พวกคุณปลูกฝังเยาวชน ให้เกลียดชังพระสงฆ์!!
ชายในกลุ่มผู้เห็นต่างคนหนึ่ง : พวกเราไม่มีการปลูกฝังแบบนั้นแน่นอนครับ

คนไทยพุทธ : ถ้าไม่มีการปลูกฝัง แล้วทำไมตอนผมและเพื่อน ๆ ผมบวชเป็นพระ เวลาเดินบิณฑบาตในตอนเช้า เมื่อเดินผ่านบ้านของพี่น้องมุสลิม เมื่อเจอเด็กๆ อายุคงไม่เกิน 12 ปี เด็กๆ เหล่านี้จะแสดงกริยาด้วยสายตาและสีหน้ารังเกียจ ต่อด้วยถุยน้ำลายลงพื้น เด็กบางคนก็ยกมือตัวเองขึ้นมา โดยใช้นิ้ว 2 นิ้วแทนมีดทำท่าทางเหมือนกำลังเชือดคอหอยให้เราดู ตามด้วยเสียงหัวเราะล่ะ
ชายในกลุ่มผู้เห็นต่างคนเดิม : อันนี้ผมไม่ทราบครับ ซึ่งในโรงเรียนสอนศาสนา เราก็สอนเด็กโตแล้ว และในมัสยิดเราก็ไม่มีการสอนแบบนี้แน่นอนครับ ผมขอยืนยัน

คนไทยพุทธ :  ถ้าไม่มีการสอนแล้วทำไม เมื่อเด็กๆ เจอพระสงฆ์ เด็กเหล่านั้นแสดงกริยาที่เหมือนกันแบบเดียวกันหลายราย
ชายในกลุ่มผู้เห็นต่างคนเดิม : อันนี้ผมก็ไม่ทราบ เขาอาจจะไปรับมาจากที่อื่นก็ได้

ผู้เขียน : แล้วเด็กหรือเยาวชนมุสลิมมันไปรับความคิดมาจากไหนว่ะ!!! (ผู้เขียนนั่งคิดในใจ)

          เมื่อผู้ถามกับผู้ตอบออกไปคนละแนว ตอบแบบไม่ตรงกับคำถาม คนไทยพุทธคนเดิมได้เปิดประเด็นใหม่อีกรอบโดยได้กล่าวถึง จริงหรือไม่? ที่มีคนกล่าวกันว่า สถาบันศึกษาปอเนาะ, โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ไม่เว้นแม้แต่ตาดีกาเป็นแหล่งบ่มเพาะอาชญากรใต้

ชายในกลุ่มผู้เห็นต่างคนหนึ่ง : ไม่มีทางและเป็นไปไม่ได้ มีคนที่ต้องการทำลายโรงเรียนเหล่านี้ อีกทั้งไม่ใช่เรื่องจริงอยู่แล้วครับ เพราะโรงเรียนเหล่านี้ก็มีภาครัฐเข้ามาตรวจสอบทั้งหลักสูตรและการเรียนการสอนครับ

          จากหลายๆ คำตอบที่ผู้เขียนนั่งฟัง พอจะคาดเดาแนวทางคำตอบของผู้เห็นต่างที่เป็นมุสลิมได้ไม่ยาก เพียงแต่อยากจะได้ยินได้รับฟังจากการถามตรงๆ ว่าจะตอบแนวไหน สักพักหนึ่งคนไทยพุทธคนที่ตั้งคำถามเหมือนผิดหวังกับคำตอบที่ได้รับและไม่ได้ถามอะไรต่ออีกเลย และเปลี่ยนมาเป็นการปรึกษาหารือกับกลุ่มผู้เห็นต่างแทน

          ทุกวันนี้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ว่าจะเป็นสถาบันศึกษาปอเนาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดหากรวมกันมีมากถึง 2,705 แห่ง ซึ่งรู้สึกว่ารูปแบบของโรงเรียนเหล่านี้พยายามแยกเยาวชนไทยพุทธและไทยมุสลิมออกจากกัน ต้องการตัดความสัมพันธ์และความผูกพันของเมล็ดพันธุ์ในชุมชนให้เหินห่างกัน เมื่อพวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่พวกเขาไม่มีความผูกพันกันเหมือนดั่งเช่นในอดีต การจะสร้างความรักความสามัคคีของคนในพื้นที่ก็จะยิ่งทำได้ยากมากขึ้นตามลำดับอีกด้วย

          ผู้เขียนไม่ได้หมายความว่าโรงเรียนเหล่านี้ไม่ดี และไม่ได้มีเจตนาให้มีการยุบหรือยกเลิกไป เพราะรู้ดีว่าพี่น้องมุสลิมในพื้นที่ก็คงไม่ยอม แต่พอจะเป็นไปได้มั้ย!! ที่จะไม่แยกเยาวชนไทยพุทธและไทยมุสลิมออกจากกัน เปิดโอกาสให้คนพุทธได้ศึกษาอยู่ในรั้วเดียวกัน เพื่อให้เด็กๆ ได้เจอได้พบหน้ากัน อย่างน้อยได้เห็นหน้าหรือใช้เวลาว่างจากการเรียน มาเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เป็นการสร้างการเรียนรู้และปลูกสายสัมพันธ์กันไว้ เพราะความทรงจำในวัยเด็กเป็นสิ่งสวยงามเสมอ ยิ่งเมื่อพวกเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่จะได้รับรู้ว่าในสังคมยังมีคนอื่น ยังมีศาสนาอื่นที่อยู่ร่วมกับเขา

          ที่กล่าวมาทั้งหมดผู้เขียนพยายามสื่อและนำเสนอ ไม่ได้บอกว่าแนวความคิดของผู้เขียนจะถูกต้องไปเสียทั้งหมด แต่อยากให้ลองเอาไปขบคิดหรือวิเคราะห์กันต่อว่ามันเป็นจริงอย่างที่กล่าวมาบ้างมั๊ย!! เพราะทุกวันนี้เราเห็นเด็กๆ ไทยพุทธกับไทยมุสลิมในชุมชนของเราจะมีปฏิสัมพันธ์กันน้อยมาก และแตกต่างจากเมื่อก่อน หากย้อนคิดแล้วพบสิ่งที่หายไป ขอแค่ร่วมกันผลักดันสร้างสัมพันธ์ของเยาวชนให้กลับมาใกล้ชิดสนิทแนบแน่นดังเดิมได้มั๊ย!! ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่ดี เมื่อพวกเราโตเป็นผู้ใหญ่สิ่งเหล่านี้ในวัยเด็ก ยังพอทำให้เราจดจำเพื่อนดีๆ เพื่อนต่างภาษา ต่างวัฒนธรรมและศาสนา ซึ่งมิอาจมาขวางกั้นเป็นกำแพงของคำว่าเพื่อน หยุดพูดคุยกัน ยิ้มให้กัน เจอกันในตลาดหรือขับรถสวนกัน พวกเราก็ยังคุยยังหัวเราะกันถึงเรื่องราวในวันเวลาเก่าๆ เหล่านั้นอยู่...หากคิดว่าไม่สำคัญ.. ไม่จำเป็น ก็สุดแล้วแต่ อาจจะเป็นแค่ความเพ้อฝันของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว...

----------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น