กรณี น.ส.พรเพ็ญ
คงขจรเกียรติ ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้แถลงการณ์:
ขอให้ยุติการเก็บและให้ทำลายสารพันธุกรรมของผู้เข้ารับการเกณฑ์ทหารในพื้นที่ชายแดนใต้
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2562 ที่ผ่านมานั้น
มีการกล่าวหาการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอของผู้เข้ารับการเกณฑ์ทหารในลักษณะของการล่วงละเมิดสิทธิของบุคคล
การจัดทำฐานข้อมูลตัวอย่างสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ)
ผู้ที่เข้ารับการคัดเลือกทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ประจำปี 2562 ในพื้นที่ 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลานั้น
อยู่ในแผนการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลตัวอย่างสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ)
ของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10 อยู่แล้ว
ซึ่งมีการจัดทำโครงการขออนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลและได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้
ส่วนการเก็บ DNA ของผู้เข้ารับคัดเลือกทหารกองประจำการ ปี
2562 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลานั้น
จะมีแบบให้กรอกความยินยอม หรือไม่ยินยอมก็ได้
ซึ่งหากดูสถิติผู้ที่เข้ารับคัดเลือกทหารกองประจำการ พบว่าระหว่างวันที่ 1
– 8 เม.ย.62 ซึ่งยังไม่จบสิ้นการคัดเลือกมีผู้ที่ยินยอมให้จัดเก็บ DNA
มีถึง 19,410 คน ไม่ยินยอม 49 คน และไม่มีการจัดเก็บ 582 คน
เนื่องจากไม่รายงานตัวเข้ารับการตรวจเลือก
การจัดทำฐานข้อมูลตัวอย่างสารพันธุกรรม
(ดีเอ็นเอ) ไม่ได้มีการบังคับเป็นความสมัครใจซึ่งมีแบบฟอร์มชัดเจนในการแสดงเจตจำนง
และไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
ได้กล่าวหา
การแสดงท่าทีและออกแถลงการณ์ของ
น.ส.พรเพ็ญ กับการลงทุนลงแรงเคลื่อนไหวในเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์อะไร? ก็คงไม่พ้นการสร้างผลงานเพื่อรวบรวมรายงานไปยังองค์กรต่างประเทศ
เพื่ออะไร? ทุกคนคงทราบดี ในส่วนของผู้ที่ไม่ยินยอมนั้นไม่ว่ากัน!! เพราะเป็นสิทธิที่สามารถปฏิเสธได้
แต่ลึกๆ แล้วกลัวอะไร? หากไม่เคยทำผิดมาก่อนไม่ต้องกลัว หากบริสุทธิ์ใจจริงการเก็บ
DNA ไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆ เลย เกิดผลดีด้วยซ้ำมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สถานการณ์ดีขึ้น
อีกทั้งการเก็บ DNA ไว้ในฐานข้อมูล.. จะไม่ถูกกลั่นแกล้งยัดข้อหามั่วให้กับผู้บริสุทธิ์...
------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น