‘อิมรอน’
กลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษา
นักเรียนและเยาวชนปาตานี หรือกลุ่ม PerMAS มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหว
เนื่องจากกลุ่มขบวนการ BRN ได้วางไว้เพื่อขับเคลื่อนงานการเมือง
ต่อจากนี้เป็นต้นไปต้องจับตามอง และติดตามความเคลื่อนไหวอย่างกระชั้นชิด
เนื่องจากรัฐบาลไทยจะสานต่อการพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ ซึ่งกลุ่ม PerMAS ไม่เห็นด้วยและไม่อยากให้เกิดสันติสุขเกิดขึ้นในพื้นที่
ซึ่งจากรวบรวมข้อมูลพอจะจับประเด็นความต้องการของ กลุ่ม
PerMAS ได้ จากการดำเนินกิจกรรมจัดเวทีเสวนา การเดินสายทำการปลุกระดมประชาชนปาตานี
ต้องการให้มีการลงประชามติเพื่อกำหนดใจตนเอง มุ่งไปสู่การแยกตัวเป็นเอกราช นับวันองค์กรนักศึกษากลุ่มนี้มีความสุ่มเสี่ยงเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งรัฐไทยเข้าไปทุกขณะ
การดำเนินกิจกรรมต่างๆ
ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ากลุ่ม PerMAS เป็นปีกการเมืองของขบวนการ BRN มีการนำสมาชิกทำการเคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในพื้นที่ส่วนอื่นของประเทศที่มีพี่น้องมุสลิมอาศัยอยู่
และยังต่างประเทศ ทำการปลุกกระแสความรักชาติปาตานี
โดยชูประเด็น “SATU PATANI” ชี้นำให้ประชาชนปาตานีและมวลสมาชิกเครือข่ายเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการบังคับใช้กฎหมาย
สื่อให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพี่น้องมลายูปาตานี
ต่อกรณีเจ้าหน้าที่ติดตามจับกุม ตรวจค้นบุคคลเป้าหมาย หรือมีเหตุปะทะกันขึ้นจนนำไปสู่การเสียชีวิตของแนวร่วม
การใช้เวทีระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนงานการเมือง
อย่างเช่นการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน และเวทีภาคประชาชนอาเซียน
(ACSC/APF) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
ซึ่งมีการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 24 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา องค์กรภาคประชาสังคม
และกลุ่ม PerMAS ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย โดยสำนักสื่อ
Wartani และสื่อ Kompas
ของ ประเทศอินโดนีเซีย ได้ฉายภาพยนตร์สารคดี “ความล้มเหลวของทุ่งยางแดงโมเดล”
นางอังคณา นีละไพจิตร
ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ บรรยายสถานการณ์ซ้อมทรมานในประเทศไทยและภาคใต้
ส่วนนายอาเต๊ฟ โซ๊ะโก
หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศสำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR) บรรยายปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
นายกามาลุดดีน ฮานาฟี แกนนำกลุ่ม BIPP ได้กล่าวชื่นชมตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคมและกลุ่ม PerMAS ที่ร่วมแสดงออกในที่เวทีการประชุมดังกล่าว
พร้อมย้ำว่าประชาชนทุกคนและทุกกลุ่ม มีบทบาทและหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการแสดงท่าทีให้กับนานาชาติรับทราบปัญหาในปาตานี
ในอนาคตปาตานีจะกลับมาเป็นของพวกเราทุกคน
มาถึงจุดนี้ย่อมเป็นที่ประจักษ์ ไม่ต้องสงสัยต่อไปอีกแล้วกับพฤติกรรมของกลุ่มขบวนการ BRN, BIPP, กลุ่มนักศึกษา
PerMAS, องค์กรภาคประชาสังคมแนวร่วม อีกทั้งกลุ่มติดอาวุธกลุ่มอื่นอีกหลายกลุ่มได้ใช้ยุทธการ
“แยกกันเดินร่วมกันตี”จุดหมายเดียวกันคือ“เอกราช”เท่านั้นที่ต้องการ ต่างรู้เห็นเป็นใจกันอย่างดี
เพียงแต่บทบาทหน้าที่ต่างกันในการเคลื่อนไหว
จะเห็นได้ว่ากลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมแนวร่วม
มุ่งโจมตีนโยบายยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลไทย มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อต้องการสื่อให้นานาชาติได้รับทราบปัญหา
เพื่อให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาแทรกแซง
จะเห็นได้ว่ามีการเตรียมการในเรื่องที่องค์กรระหว่างประเทศให้ความสนใจเป็นพิเศษไปบรรยายในเวทีระดับนานาชาติ
เช่นเรื่องสถานการณ์ซ้อมทรมานในประเทศไทยและภาคใต้, ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
เป็นที่น่าสังเกตว่าเรื่องของการซ้อมทรมานที่นางอังคณา นีละไพจิตร ได้นำไปบรรยายในเวทีการประชุมในครั้งนี้มีความพยายามสื่อให้นานาชาติได้รับรู้
ซึ่งในความเป็นจริงในปัจจุบันนี้ไม่มีอีกแล้ว กระบวนการซักถามผู้ต้องสงสัยที่เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวได้มีการดูแลเป็นอย่างดี
มีการตรวจร่างกายจากแพทย์ทั้งก่อนกระบวนการซักถามและหลังจบสิ้นกระบวนการซักถาม
เพื่อลดข้อกล่าวหาเจ้าหน้าที่ซ้อมทรมาน
การรับสารภาพของผู้ต้องสงสัยว่าได้กระทำความผิดมาด้วยการก่อเหตุ
และเป็นสมาชิกแนวร่วม RKK
ไม่มีการซ้อมทรมานและบังคับขู่เข็ญใดๆ จากเจ้าหน้าที่รัฐ
ทุกขั้นตอนมีความโปร่งใส มีการเชิญบิดามารดา ลูกเมีย ผู้นำศาสนาในพื้นที่ร่วมรับฟังทุกขั้นตอนในกระบวนการซักถาม
ส่วนการบรรยายหัวข้อ “ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และการละเมิดสิทธิมนุษยชน”
ที่บรรยายโดยนายอาเต๊ฟ โซ๊ะโก ทำการสื่อให้เห็นว่ายังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น
ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ในการติดตามจับกุมได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก
ใช้หลักของการเจรจาเป็นหลัก
เพื่อลดการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นไม่ว่ากับฝ่ายใดก็ตามซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายไม่อยากให้เกิดขึ้น
มีการประสานผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่นช่วยในการพูดจาหว่านล้อมให้ผู้ต้องสงสัยเข้าทำการมอบตัว
ตรงกันข้ามกรณีกลุ่มขบวนการมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนทำร้ายผู้อ่อนแอ
เด็ก คนชรา และสตรี ได้กระทำการสุดโต่งเข่นฆ่าผู้คนอย่างไร้ความปราณี กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม
และกลุ่ม PerMAS
กลับเงียบเฉยไม่เคยแสดงท่าทีใดๆ เลย ซึ่งหากเราตั้งข้อสังเกตจะพบว่าองค์กรอีแอบเหล่านี้เงียบเพื่อคอยเก็บข้อมูลความผิดพลาดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วทำการขยายผลให้เป็นเรื่องราวใหญ่โตเพื่อสื่อไปยังต่างชาติได้รับรู้
นี่คือ!!!สันดานที่แท้จริงขององค์กรภาคประชาสังคมแนวร่วมแบ่งแยกดินแดนในคราบนักศึกษา.....
การโฆษณาชวนเชื่อเป็นงานถนัดของกลุ่ม
PerMAS
ในการแหกตาประชาชนปาตานี ได้ทำการเผยแพร่บทความหัวข้อ “การเสียสละของกลุ่ม PerMAS” เพื่อสร้างภาพให้องค์กรดูดี และเป็นการให้กำลังใจนายสุไฮมี ดุลละสะ ประธานกลุ่มฯ ต่อกรณีมีกระแสข่าวว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล
อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีเนื้อหามุ่งเน้นปลุกระดมให้สมาชิกออกมาร่วมเคลื่อนไหว
เนื่องจากกลุ่ม PerMAS เป็นความหวังของสังคมปาตานี
ขณะที่เว็บไซต์
kabarkampus.com
ของอินโดนีเซีย ได้นำเสนอข่าวว่านักศึกษาจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่กำลังศึกษาอยู่ในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย
ได้จัดการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งชาติ (UIN) เพื่อเรียกร้องให้ผู้นำประเทศที่เข้าร่วมประชุมประจำปี
เอเชีย - แอฟริกา ครั้งที่ 60
นำประเด็นการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนในปาตานีเข้าหารือในที่ประชุม
โดยอ้างว่าการใช้อำนาจทางทหารของรัฐบาลไทยเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตของประชาชน
เพื่อให้เห็นธาตุแท้ขององค์กรนักศึกษาโจร
ท่านที่ยังไม่ได้อ่านบทความเพื่อทำความเข้าใจต่อพฤติกรรมของสหพันธ์นิสิตนักศึกษา
นักเรียน และเยาวชนปาตานี หรือกลุ่ม PerMAS อยากให้เข้าไปอ่านกันดู
ซึ่งเป็นการปลุกเร้าทั้งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ การจัดเวทีเสวนา การปล่อยข่าวลือ ซึ่งได้มีการเคลื่อนไหวเป็นขบวนการเครือข่ายภาคี
มีการประสานงานไปยังกลุ่มนักศึกษาสถาบันต่างๆ ให้มีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน
เพื่อทำการกดดันต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ
อีกทั้งมีความพยายามให้มีการยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งบทความเรื่อง “คำสารภาพผู้ก่อเหตุระเบิดเมืองนรา...ฉีกหน้า PerMAS” คือความจริงที่ต้องอ่านเพื่อรู้เท่าทันกลุ่มองค์กรนักศึกษาโจรใต้กลุ่มนี้ ที่มีความพยายามทุกวิถีทางในการช่วยเหลือโจรใต้ที่ก่อเหตุลอบวางระเบิดเมืองนราธิวาสให้พ้นผิด
ตามลิ้งด้านล่างครับ...
http://pulony.blogspot.com/2015/04/permas.html
-------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น