“แบดิง โกตาบารู”
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, องค์กรเครือข่ายส่งเสริมสิทธิมนุษยชนปาตานี (HAP) และกลุ่มด้วยใจ โฆษณาชวนเชื่อชี้นำประชาชนชาวมาลายู ให้เกลียดชังเจ้าหน้าที่รัฐ
น.ส.อัญชณา หีมมิหน๊ะ จากกลุ่มด้วยใจ ได้กล่าวถึงการไต่สวนของศาลจังหวัดปัตตานี
ครั้งที่ 3 พิจารณาไต่สวนกรณีเหตุนักศึกษาเสียชีวิต 4 ราย จากการติดตามจับกุมและปฏิบัติตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
บ้านโต๊ะชูด ม.๖ ต.พิเทน อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี ว่า “แม้การไต่สวนเจ้าหน้าที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว
แต่เกิดความไม่เข้าใจหลายประการ
ถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการไต่สวนการเสียชีวิต การดำเนินการของพนักงานของรัฐ
และที่สำคัญคือการสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้เสียชีวิต”
หากย้อนกลับไปดูความเคลื่อนไหวของกลุ่มด้วยใจ
โดย น.ส.อัญชณา หีมมิหน๊ะ พบว่าตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ 25 มีนาคม 2558
ได้ทำการเคลื่อนไหวมาโดยตลอด และยิ่งใกล้ครบรอบ 1 ปี ของเหตุการณ์ พยายามจุดกระแสชี้นำประชาชนมาลายูปาตานีให้เกิดความเกลียดชังเจ้าหน้าที่รัฐ
เหตุการณ์ผ่านพ้นไปได้ 3 เดือน กลุ่มด้วยใจไม่คิดว่าหลังจากที่มีการเยียวยาจะถือว่าเป็นการสิ้นสุดคดีหรือเหตุการณ์ความเจ็บปวดจะสิ้นสุดลง
บางคนอาจจะลืมเหตุการณ์นี้ไปแล้วเพราะมีเหตุการณ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น
บางคนอาจคิดว่าทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว การเยียวยาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีแล้ว การนำผู้กระทำผิดมาลงโทษสำเร็จแล้ว
แต่ ครอบครัวของเหยื่อและผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ในวันนั้นคงไม่คิดเช่นนั้น
เพราะเขาคือผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม
จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะก้าวข้ามความเจ็บปวดไปได้ง่ายๆ
เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559 น.ส.อัญชนา
หีมมิหน๊ะ กลุ่มด้วยใจ ได้เขียนบันทึกเผยแพร่ใน เว็บไซต์ deepsouthwatch.org ใกล้จะครบรอบ
1 ปี แล้ว หลายคนอาจจะลืมไปแล้ว
แต่สำหรับครอบครัวและญาติพี่น้องของพวกเขายังไม่ลืมและกำลังพยายามไขว่คว้าหาความยุติธรรมโดยการเข้าร่วมในการพิจารณาคดีการไต่สวนการตาย
เหตุการณ์โต๊ะชูด ศอ.บต.ได้มีการเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบรายละ
500,000 บาท พลโทปราการ
ชลยุทธ แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ในขณะนั้นได้กล่าวยอมรับผิดและขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
พร้อมกับมีการตั้งกรรมการสอบสวนขึ้นมาและได้มีการแถลงข่าวให้สาธารณชนได้รับรู้
กลุ่มด้วยใจต้องการให้ปัญหาไม่จบ
เหมือนละครที่มีการเขียนบทต่อเพื่อเรียกเรทติ้งคนดู การเป็นตัวแทนเรียกร้องเยียวยาให้รัฐจ่ายครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบมากกว่ารายละ
500,000 บาท
อีกทั้งเรียกร้องให้มีการเยียวยาผู้ที่ถูกควบคุมตัวด้วยกฎอัยการศึกและพระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
การดำเนินการด้านกฎหมายต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์
อยู่ในกระบวนการยุติธรรม อย่าชิงด่วนสรุปและตัดสินใจ โดยเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2558 โดยศาลได้ไต่สวนพยานไปแล้ว 4 ปาก และต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน
2558 ได้มีการไต่สวนพยาน 2 ปาก และเมื่อวันที่ 2 และ 3 ก.พ. 2559
ได้มีการไต่สวนเจ้าหน้าที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว
น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ ได้กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตจากการปะทะคือผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบ
และทางครอบครัวส่วนใหญ่ก็คิดว่า ไม่สามารถสู้กับอำนาจรัฐได้
ไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอ ไม่รู้ภาษาไทย
เหตุการณ์ที่เกิดการปะทะหลายต่อหลายเหตุการณ์
สาเหตุมาจากการที่กลุ่ม ผกร.เปิดฉากระดมยิงเข้าใส่เจ้าหน้าที่ก่อน
ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ก็ว่าไปตามกระบวนการขั้นตอนยุติธรรม
การที่ประชาชนไม่รู้ภาษาไทยเกิดจากใคร?
ไม่ใช่กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมหรอกหรือ? ที่ออกมากล่าวหารัฐกลืนกินวัฒนธรรม และอัตลักษณ์
เมื่อเกิดเรื่องเช่นนี้กลับกล่าวอ้างไม่รู้ภาษาไทย
หรือว่ากลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมรวมไปถึงนักวิชาการห่วยๆ
ต้องการครอบงำประชาชนมาลายูปาตานี
และไม่ต้องการให้พูดอ่านเขียนภาษาไทยได้เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร
ในเมื่อประชาชนมาลายูปาตานีไม่รู้ภาษาไทยก็เป็นการง่ายในการชักจูง
อีกทั้งในการติดต่อหน่วยงานราชการจะต้องให้กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมเหล่านี้เป็นตัวกลางพาไป
รวมไปถึงการติดต่อในเรื่องเยียวยา มีข่าวหนาหูอยู่หลายครั้งที่มีกลุ่ม
องค์กรหากินกับค่าหัวคิวในการติดต่อประสานงานให้
สรุปแล้วให้องค์กรที่เต้นเหยงๆ
ทั้งหลายไม่ได้เคลื่อนไหวและทำหน้าที่ด้วยจิตสาธารณะมีผลประโยชน์แอบแฝง
ไม่ได้กระทำตัวเพื่อสังคมอย่างแท้จริงสร้างผลงานให้องค์กร ส่งภาพรายงานกิจกรรมขอเงินสนับสนุนจากต่างประเทศ
ตั้งตนเป็นแกนนำเรียกร้องโน่นนี่ลองไปตรวจสอบบัญชีบุคคลเหล่านี้กันดูถึงกับอึ้ง!!
มีองค์กรบางองค์เผลอหลุดปากบนเวทีนี่เป็นอาชีพ
พ่อแม่อยากให้ทำงานรับราชการไม่เอา และสุดท้ายก็ร่ำรวยจริงๆ หรือว่าไม่จริง!! ลองไล่เรียงหน้ากันดู
เหตุการณ์จังหวัดชายแดนใต้สงบเมื่อไหร่ผู้ที่ตกงานอันดับต้นๆ คือนักข่าว
องค์กรภาคประชาสังคม 420 กว่าองค์กร
และทุกวันนี้บุคคลกลุ่มนี้มีอิทธิพลในการชี้นำความคิดต่อประชาชนมาลายูปาตานีให้มีความคิดต่างจากรัฐอยู่เนืองๆ....เพื่ออะไร?
----------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น