"แบดิง โกตาบารู"
เหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ตั้งแต่ปี 2547
จนถึงปัจจุบัน นับรวมระยะเวลาได้ 13 ปีเต็ม เมื่อวันที่
4 มกราคมที่ผ่านมา
จากการรวบรวมสถิติของ
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Incident Database- DSID) ซึ่งเป็นประจำทุกปีที่สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้นำเสนอต่อสาธารณะ
ส่วนการรวบรวมสถิติเหตุการณ์ในพื้นที่
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ อ้างว่าทำการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลจาก 4 แหล่งข่าวด้วยกัน กล่าวคือ (1) ส่วนปฏิบัติการและรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน
ศูนย์ปฏิบัติการร่วม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4
ส่วนหน้า (ศปร.กอ.รมน.ภาค 4 สน.) (2) งานการข่าว
ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) (3) ศูนย์ประสานงานเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ จังหวัดยะลา และ (4) หนังสือพิมพ์ และสื่อมวลชน
จากผลการรวบรวมข้อมูล
ในปี 2559 พบว่า มีจำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งสิ้น 807
เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต จำนวน 307 ราย และบาดเจ็บ จำนวน 628 ราย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากสาเหตุการก่อความไม่สงบในพื้นที่ 348 เหตุการณ์ รองลงมาคือ สาเหตุที่ยังไม่ชัดเจน/ยังไม่สามารถระบุได้ 268 เหตุการณ์ โดยมีรูปแบบการก่อเหตุสูงสุด 3
อันดับแรกได้แก่ 1) การยิง 370 เหตุการณ์
2)การระเบิด 197 เหตุการณ์ และ 3)
การก่อกวน 105 เหตุการณ์
ในปี 2559 หากจำแนกพื้นที่การก่อเหตุในระดับจังหวัด พบว่า
พื้นที่ที่มีจำนวนเหตุการณ์สูงที่สุด คือ จังหวัดปัตตานี จำนวน 309 เหตุการณ์ และมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสูงที่สุด คือ เสียชีวิต 106 ราย และบาดเจ็บ 259 ราย รองลงมาคือ จังหวัดนราธิวาส
มีเหตุการณ์จำนวน 270 เหตุการณ์ เสียชีวิต 97 ราย และบาดเจ็บ 210 คน จังหวัดยะลา มีจำนวน 175 เหตุการณ์ เสียชีวิต 77 คน และบาดเจ็บ 96 ราย และจังหวัดสงขลา จำนวน 53 เหตุการณ์ เสียชีวิต 27 ราย และบาดเจ็บ 63 ราย
ส่วนในรายละเอียดอื่นๆ
ผู้เขียนไม่ขอลงลึกไปอ่านต่อได้ที่ลิ้งเว็บไซต์ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ http://www.deepsouthwatch.org/node/10037
หลักใหญ่ใจความของเหตุการณ์ปีที่ผ่านมาคือ
จำนวนเหตุการณ์ 807 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต จำนวน 307 ราย และบาดเจ็บ
จำนวน 628 ราย จากสถิติของการก่อเหตุรุนแรงในภาพรวมจะลดลงแทบทุปี
ซึ่งก็เป็นนิมิตรหมายที่ดี ในการเปลี่ยนผ่าน จากการต่อสู้ด้วย “อาวุธ” สู่แนวทาง “สันติวิธี”
สถิติไฟใต้ ปี
59 เปรียบเทียบสถิติ 7 วันอันตรายห้วงปีใหม่
จากข้อมูลของ ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน
ประจำปี 2560
โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
สรุปผลการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2560 ห้วง 7 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.59 –
4 ม.ค.60 เกิดอุบัติเหตุรวม 3,919 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 478 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 4,128
คน
จะเห็นได้ว่าจำนวนเหตุการณ์
ยอดผู้เสียชีวิต และผู้ได้รับบาดเจ็บในห้วง 7 วันอันตรายเทศกาลปีใหม่ 2560 จะสูงกว่าสถิติเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในชายแดนใต้ทั้งปี
ที่ผู้เขียนเปรียบเทียบให้เห็นตัวเลขและสถิติที่แตกต่างมิได้หมายความว่าเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะไม่น่ากลัว
เดี่ยวพวกโลกสวยจะพากันโวยวายกล่าวหาผู้เขียนต้องการสื่ออะไร?
ยอดผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์ใต้ในปี
2559 ที่ผ่านมามีจำนวนทั้งสิ้น 307 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตในห้วง 7 วันอันตรายเทศกาลปีใหม่
2560 มีจำนวน 478 ราย
ผู้เขียนถามว่าหากเราพินิจวิเคราะห์เหตุการณ์ไหนจะน่ากลัวกว่ากัน..ก็คงไม่พ้นเหตุการณ์การสูญเสียในห้วงเทศกาลปีใหม่
2560 เพราะมีผู้เสียชีวิตเยอะกว่าเพียงแค่ 7 วัน
ส่วนผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์จังหวัดชายแดนใต้เป็นยอดสะสมทั้งปี
ภาพความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้
เป็นภาพที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงได้เขียนและละเลงเลือดจนติดตาผู้คน
ภาพข่าวความรุนแรงที่มีการนำเสนอของสื่อทำให้ประชาชนในพื้นที่อื่นๆ
กลัวและไม่กล้าที่จะเดินทางเฉียดมาในพื้นที่แห่งนี้
การใช้ชีวิตของผู้คนในพื้นที่ถามว่า “กลัวมั๊ย!!” คงไม่มีใครที่ไม่กลัวแต่จะต้องปรับการใช้ชีวิตให้สามารถอยู่ได้ท่ามกลางเสียงปืน
เสียงระเบิด
สถิติตัวเลขการเกิดเหตุในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ขอบอกว่าไม่ใช่เหตุความมั่นคงทั้งหมด หลายๆ เหตุเป็นเรื่องความขัดแย้งส่วนตัว ปมขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์
ธุรกิจผิดกฎหมาย อย่าลืมว่าผู้ก่อเหตุอาศัยสถานการณ์บังหน้าทำการก่อเหตุแล้วโยนให้เป็นเรื่องของความมั่นคงเพื่อเอาตัวรอดหนีการกระทำความผิด
จะต้องเป็นหน้าที่ของผู้บังคับใช้กฎหมายแยกแยะวิเคราะห์
สืบสวนสอบสวนว่าเหตุไหนเรื่องส่วนตัว เหตุไหนเป็นเรื่องของเหตุความมั่นคง
อย่าให้ผู้กระทำผิดคิดใส่ไฟพ่วงความรุนแรงสร้างสถานการณ์ให้น่ากลัวในสายตาคนทั้งประเทศอีกต่อไป...
--------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น