1/12/2560

ว่าด้วยเรื่องวาทกรรม“โจรใต้”

"Ibrahim"


วาทกรรม" แปลมาจากคำว่า discourse แนวคิดเรื่องวาทกรรมที่นักวิชาการไทยนำมาเผยแพร่ราว พ.ศ. 2524-2525 นี้เป็นของมิเชล ฟูโก้ (Michel Foucault) ซึ่งพยายามเชื่อมโยงเรื่องสำคัญ 3 เรื่องเข้าด้วยกันนั่นคือ ความรู้ อำนาจและความจริง กล่าวโดยรวมๆ ได้ว่าวาทกรรมเป็นการสร้างความรู้ การผลิตความรู้หรือการนิยามความรู้บางอย่างขึ้นมาเพื่อให้มีอำนาจในการกำหนดความจริง (จากบล็อก OK Nation http://www.oknation.net/blog/print.php?id=281466 )

การสร้างวาทกรรมในการรายงานข่าวนั้น ไม่ว่าจะเป็น โจรใต้ หรืออะไรก็แล้วแต่ มันคือการตราหน้าแก่คนในสังคมนั้น เราจำเป็นต้องสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคม มนุษย์จึงจะได้เห็นถึงคุณค่าของคนในสังคมผ่านการรายงานข่าวของเรา สื่อภาคพลเมืองคือผู้จุดประกายเรื่องราวให้สังคมได้นำไปขยายโดยหวังเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าให้สังคมต่อไป

นั่นคือคำพูดที่ออกจากปากของ นายทวีศักดิ์ ปิ อดีตบรรณาธิการสำนักสื่อวาร์ตานี ทำไมต้องมีสื่อภาคพลเมือง: บันทึกจากอิสานข้อคำถามจากสื่ออิสานถึงสื่อปาตานี

วาทกรรมหลายๆ วาทกรรมที่ก่อเกิด จนกระทั่งมีการพูดกันปากต่อปาก วาทกรรมเหล่านี้มาจากไหน? ใครเป็นคนต้นคิด

วาทกรรม โจรใต้ที่นายทวีศักดิ์ ปิ ได้จุดกระแสว่าเป็นการตราหน้าแก่คนในสังคม อีกทั้งเรียกร้องไปถึงการสร้างความเท่าเทียมในสังคมมนุษย์ ตกลงมันเป็นอย่างไร? ใครตราหน้าใคร?

กลุ่มขบวนการที่มีพฤติกรรมสุดโต่ง เข่นฆ่าผู้คนอย่างเลือดเย็น ไม่แยกแยะเป้าหมาย แม้กระทั่งเด็ก สตรี และคนชรา ทำการก่อเหตุสร้างสถานการณ์ สร้างความเสียหายให้แก่บ้านแก่เมือง เมื่อมีการใช้คำว่า โจรใต้ทำไม? ถึงเป็นเดือดเป็นแค้นแทนกลุ่มขบวนการ ชี้ให้เห็นเป็นการตราหน้าแก่คนในสังคม แล้วกับการกระทำชั่วในการสร้าง ตราบาปของกลุ่มขบวนการต่อผู้ที่สูญเสียล่ะ!! อยากถามไปยัง นายทวีศักดิ์ ปิ อย่างไหน? ที่สมควรเรียกร้องมากกว่ากัน!!

หรือจะให้เปลี่ยนวาทกรรมจากคำว่าโจรใต้เป็นคุณโจรหรือนักรบฟาตอนีแทน ซึ่งเป็นวาทกรรมที่กลุ่มขบวนการและแนวร่วมยกย่องผู้ร้ายกลุ่มนี้มาตลอดไม่ใช่หรือ!!

ไม่น่าเชื่อว่า นายทวีศักดิ์ ปิ จะมีความคิดเยี่ยงนี้ ที่จริงแล้วผู้เขียนไม่อยากให้ราคาค่างวดสักเท่าไหร่? ไม่อยากตอบโต้ด้วยซ้ำ แต่ความรู้สึกลึกๆ บอกเลยไม่ใช่คำว่าโจรใต้คือโจรใต้วันยังค่ำเพราะพฤติกรรมมันบ่งบอกว่ากลุ่มคนไม่ดีกลุ่มนี้ไม่สมควรยกย่องให้เป็นนักรบ

วาทกรรมที่ใช้กันเคยชินได้แก่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้กระบวนการพูดคุยสันติภาพซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการบัญญัติคำใหม่ขึ้นมาแทนเป็น กระบวนการพูดคุยสันติสุขมีการกล่าวถึง พื้นที่ปลอดภัยนำไปสู่สันติสุขที่ยั่งยืน ด้วยการก้าวข้ามความขัดแย้งไปสู่ช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านร่วมกันของทุกภาคส่วน

การช่วงชิงความหมายระหว่าง กบฏกับ ผู้ปลดปล่อยหรือ โจรใต้กับ ผู้ปลดปล่อยประชาชาติปาตานีที่จะถูกตอกย้ำอย่างซ้ำๆ ในวิถีแห่งชีวิตประจำวันจนสามารถติดตั้งและซึมลึกสู่วิถีชีวิตของผู้คนสามัญจนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาเป็นที่ยอมรับ

การใช้วาทกรรมคำว่า ปาตานี(PATANI) ไม่ใช่ปีกการเมืองกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็นหรอกหรือ? ที่ริเริ่มใช้วาทกรรมคำนี้

คำว่า ปาตานี”(PATANI) เริ่มพบเห็นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยองค์กรที่เรียกตัวเองว่า นักกิจกรรม ในพื้นที่ เช่น ปาตานีฟอรั่ม และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาและนักเรียนปาตานี หรือ PerMAS และล่าสุดคือการรวมตัวของกลุ่มผู้คิดต่างคือ กลุ่ม มารา ปาตานี จึงทำให้คำว่า ปาตานี

นอกจากนี้ยังมีวาทกรรมอีกมากมายที่ได้มีการคิดขึ้นมาใช้เพื่อทำการต่อสู้ ทำการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิในการกำหนดใจตนเองของกลุ่มปีกการเมืองบีอาร์เอ็น แต่น่าแปลกใจที่ นายทวีศักดิ์ ปิ ไม่ได้กล่าวถึง แต่กลับมาเรียกร้องวาทกรรม โจรใต้ แทนกล่าวหาว่าเป็นการตราหน้าแก่ผู้คนในสังคม จะด้วยเหตุผลกลใดมิทราบได้ แต่ที่แน่ๆ ความเชื่อมโยงขององค์กรภาคประชาสังคม องค์กรสื่อภาคพลเมืองมีความสนิทแนบแน่นแทบเป็นเนื้อเดียวกัน จึงไม่แปลกที่เอื้อและสนับสนุนต่อกัน.
----------------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น