"Ibrahim"
“สถานการณ์ไฟใต้” ในปัจจุบันสถิติความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง
และมีทิศทางที่ดีขึ้นประกอบกับการเดินหน้าพูดคุยสันติสุขของรัฐบาลไทยกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐที่กำลังเดินหน้าและเป็นความหวังของประชาชนที่อยากเห็นพื้นที่แห่งนี้กลับมาสงบสุขอีกครั้ง
ท่ามกลางความไม่สงบที่เกิดขึ้นมีสิ่งที่ทำให้เกิดการก่อเหตุหลายอย่างด้วยกันไม่ว่าจะเป็น
ปัญหาจาก“ภัยแทรกซ้อน” จากยาเสพติด น้ำมันเถื่อน
การลักลอบนำเข้าสินค้าหนีภาษี ปัญหาผู้มีอิทธิพลการเมืองท้องถิ่น
ความขัดแย้งในเรื่องธุรกิจผิดกฎหมาย รวมไปถึงการปลูกฝังแนวความคิดผิดๆ
ให้กับเยาวชนใน“สถาบันการศึกษา”
เมื่อกล่าวถึงสถาบันการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่ไฟใต้แผดเผาและทำลายสันติสุขการอยู่ร่วมในสังคมพหุวัฒนธรรมของผู้คนในพื้นที่ชีวิตประจำวันของผู้คนแปรเปลี่ยนไป“สถาบันปอเนาะ”เป็นสถาบันการศึกษาอันดับต้นๆ
ที่มักมีการกล่าวถึงและตั้งข้อสงสัยว่าเป็นสถานที่ที่มีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ความไม่สงบ
อุปกรณ์ผลิตวัตถุระเบิด และหลักฐานที่เชื่อมโยงไปยังกลุ่มขบวนการสถาบันปอเนาะหลายแห่งจึงถูกปิดตัวลงและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการจากรัฐ
ความเป็นจริงในปัจจุบันหากมองสถิติความรุนแรงที่ลดลง
ส่งผลให้สถานการณ์ความรุนแรงดีขึ้นแต่กลุ่มขบวนการยังคงหล่อเลี้ยง “ความรุนแรง” มุ่งทำการก่อเหตุยังคงอยู่เพื่อต้องการแสดงความมีตัวตนของกลุ่ม
มุ่งทำลายระบบสาธารณูปโภคของรัฐได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง อย่างเช่นเหตุลอบระเบิดเสาไฟฟ้ามากกว่า
52 ต้น ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อคืนวันที่ 6 เมษายน 2560 และต่อเนื่องในค่ำคืนวันที่ 7
เมษายนที่ผ่านมา
สถิติความรุนแรงที่ลดลงจะมาจากสาเหตุใดก็ตามแต่
ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีของการแก้ปัญหาไฟใต้ด้วยการหาทางออกของความขัดแย้งตามแนวทาง“สันติวิธี”หันหน้ามาพูดคุยแทนการใช้กำลัง
“สถาบันการศึกษา” คือเป้าหมายหลักของกลุ่มขบวนการ
โดยเลือกใช้สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทั้งที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหลัก
ทำการขับเคลื่อนงานการเมืองผ่านองค์การนักศึกษา เคลื่อนไหวจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นต่อเป้าหมาย
เด็ก เยาวชน นักเรียนโรงเรียนสอนศาสนา นักศึกษา และกลุ่มปัญญาชน โดยใช้“อัตลักษณ์”และ“วาทกรรม”ในการขับเคลื่อนขยายฐานมวลชน
ที่สำคัญองค์การนักศึกษาในสถาบันต่างๆ
มีการเคลื่อนไหวและจัดกิจกรรมต่างๆ
สอดรับกับแนวทางยุทธศาสตร์ขององค์กรภาคประชาสังคมที่เคลื่อนไหวต่อต้าน
และโจมตีการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานความมั่นคง
ยิ่งไปกว่านั้นรูปแบบการเคลื่อนไหวขององค์การนักศึกษาสถาบันต่างๆ
โดยเฉพาะยุทธศาสตร์หลักที่สหพันธ์นิสิตนักศึกษาเยาวชนนักเรียนปาตานี (กลุ่ม PerMAS) ได้พยายามปลุกระดมด้วยการจัดเวทีเสวนา เคลื่อนไหวในพื้นที่และนอกพื้นที่มาโดยตลอด
นอกจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วยังมีการขยายเครือข่ายไปยังสถาบันการศึกษานอกพื้นที่อีกด้วย
“งานการเมืองของกลุ่มขบวนการ” ในสถาบันการศึกษา ที่ขับเคลื่อนโดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษาเยาวชนนักเรียนปาตานี
หรือกลุ่ม PerMAS เป็น“ปีกการเมืองกลุ่มขบวนการ”หากมองโดยผิวเผินเป็นแค่ “กิจกรรมของนักศึกษาเท่านั้น”เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงต่อเสถียรภาพความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งเปิดเสรีให้กับกลุ่มนักศึกษา และกลุ่มปัญญาชนใช้มหาวิทยาลัยของรัฐ โดยใช้“อัตลักษณ์”และ“วาทกรรม”ในการขับเคลื่อนขยายฐานมวลชน
---------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น