"Ibrahim"
จากเหตุการณ์ป่วนใต้ 13 จุด 12 อำเภอ เมื่อตอนค่ำวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา
ก่อนหน้าเกิดเหตุ มีการแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารล่วงหน้าว่าจะมีการใช้กำลังในการก่อเหตุจากกลุ่มขบวนการ
ซึ่งจากการปฏิบัติการของกลุ่มคนร้ายที่ลงมือก่อเหตุ จุดตรวจจุดสกัดในพื้นที่ได้มีการวางแผนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ส่งผลให้ผลที่ออกมาเบาลงได้ในระดับหนึ่ง
อีกทั้งเจ้าหน้าที่หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ หากค่ำคืนวันนั้นเจ้าหน้าที่เลือกใช้ความรุนแรงด้วยการใช้อาวุธในการตอบโต้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นย่อมมีผู้บาดเจ็บล้มตาย
เมื่อมีการตรวจสอบประวัติ 2
ศพโจรใต้ที่เสียชีวิตพบว่าเป็น“ไส้ศึก”สวมรอยเป็น ชรบ.คอยส่งข่าวความเคลื่อนไหวเจ้าหน้าที่ให้กับแกนนำกลุ่มขบวนการ
แหล่งข่าวในพื้นที่เปิดเผยว่า“หัวโจก”ระดับแกนนำคุมกำลัง
ซึ่งซุ่มกบดานเงียบอยู่ในพื้นที่“สะบ้าย้อย”หลอกใช้“เยาวชน”ในการก่อเหตุสร้างสถานการณ์
เพื่อทำการฝึกภาคสนามให้กับแนวร่วมรุ่นใหม่โดยมีสมาชิกกลุ่มขบวนการในพื้นที่คอยกำกับดูแล
รูปแบบยุทธวิธีในการป่วนเมืองเมื่อช่วงค่ำวันที่
19 เมษายน มีการประกอบวัตถุระเบิดแสวงเครื่องแล้วลำเลียงนำไปส่งให้กับ“เยาวชน”ทำการขว้างเข้าใส่จุดตรวจจุดสกัด
รวมไปถึงบ้านพักของทางราชการและอาคารบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย
แต่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในพื้นที่“สะบ้าย้อย”โจรใต้
2 ศพที่เสียชีวิตน่าจะมาจากความรีบเร่งในในการประกอบระเบิด ซึ่งทั้งทั้งสองรายเป็นสมาชิกกลุ่มขบวนการที่นำระเบิดแสวงเครื่องไปส่งให้ทำการก่อเหตุแต่กลับระเบิดใส่ร่างของตนเองเสียก่อนจนเสียชีวิตดังกล่าว
“เด็กและเยาวชน” คือเป้าหมายหลักของกลุ่มขบวนการที่ต้องการดึงมาเป็นสมาชิกแนวร่วม มีการปลูกฝังแนวความคิด ความเชื่อ
ด้วยการบิดเบือนประวัติศาสตร์ปัตตานี บิดเบือนหลักคำสอนศาสนา ส่งผลให้“เด็กและเยาวชน”กลุ่มนี้หลงผิด
มีความก้าวร้าว มีความคิดแปลกแตกต่างจากเด็กและเยาวชนทั่วๆ ไป
ห้วงโรงเรียนปิดภาคเรียนฤดูร้อนของทุกๆ
ปี เป็นห้วงที่“เด็กและเยาวชน”มีเวลาว่างจากการศึกษาเล่าเรียน สิ่งหนึ่งที่เห็นจนชินตาคือการจัดโครงการต่างๆ
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยมีกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นเป้าหมาย
กลุ่มคนที่ไม่หวังดีจะใช้โอกาสนี้แอบแฝงจัดโครงการอบรมขึ้น ภายใต้ชื่อโครงการสวยหรูดูดีเพื่อตบตาผู้ปกครอง
เช่น โครงการตาดีกาสัมพันธ์, โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้สอนกีรอฮาตี, โครงการพี่พาน้องพัฒนาบ้านเกิด รวมไปถึงการแข่งขันกีฬาสภานักเรียนและประชาชนในพื้นที่
มีการเชิญชวนกึ่งบังคับทำการกวาดต้อนเด็กๆให้ไปเข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนดังกล่าวซึ่งได้จัดขึ้นภายในหมู่บ้าน
ได้รับการเปิดเผยจากผู้ปกครองในพื้นที่ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า
พ่อแม่เด็กเยาวชนส่วนใหญ่จะเห็นดีเห็นงามด้วยเนื่องจากดีกว่าปล่อยให้ลูกหลานอยู่ว่างๆ
โดยไม่มีอะไรทำ ผู้จัดโครงการมักจะเป็น “เปอร์มูดอ”ที่คอยจัดหลักสูตรตาดีกาหรือกิจกรรมในห้วงปิดภาคเรียน
แต่ในเชิงลึกกลับแทรกเนื้อหาในเรื่องชาติพันธุ์ปัตตานี มีการบิดเบือนคำสอนศาสนา
ปลูกฝังความเป็นตัวตนของมลายูผ่าน“วาทกรรม”และ “อัตลักษณ์”โดยไม่รู้ตัว
เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งกลุ่มขบวนการจะให้“เด็กและเยาวชน”กลุ่มเป้าหมายทำการสาบานตน ด้วยการ“ซูมเปาะ”ทำการฝึกภาคสนามด้วยการลงมือปฏิบัติการก่อเหตุ
จุดประสงค์เดียวเพียงเพื่อต้องการให้เด็กและเยาวชนกระทำผิดกฎหมาย
เมื่อเข้าสู่วังวนความชั่วร้ายเต็มตัว ไม่กล้าคิดแม้ จะถอนตัวออกจากขบวนการ ซึ่งหากไม่กระทำตามจะเป็น“วาญิบ”ผิดหลักศาสนาอิสลาม
อีกทั้งเป็นผู้ต้องหาคดีอาญาบ้านเมืองจะต้องคอยซ่อนตัวหลบหนีการจับกุมตัวของเจ้าหน้าที่รัฐ
ในห้วงที่ผ่านมามีกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง
ผู้เห็นต่างจากรัฐแจ้งความประสงค์เข้ามอบตัวกับแม่ทัพภาคที่ 4 จำนวนมาก ไม่ว่าจะเข้าร่วม“โครงการพาคนกลับบ้าน” หรือเข้าสู่กระบวนการตามมาตรา
21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551
ด้วยการรายงานตัวแสดงตน“เข้ารับการอบรมแทนการฟ้องร้อง”ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กลุ่มคนร้ายเกิดความหวั่นไหว
และพยายามที่จะดำรงสถานะของตัวเองลงมือทำการก่อเหตุ
ฝากไปยังพ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนจะต้องทำหน้าที่ระแวดระวัง
และเฝ้าคอยสังเกตพฤติกรรมลูกหลานเป็นพิเศษในห้วงปิดเทอม หากไม่ต้องการให้ลูกหลานเข้าสู่วังวนความชั่วร้ายเข้าร่วมเป็นสมาชิก
ผกร. ต้องตกเป็นเหยื่อเป็นเครื่องมือของกลุ่มขบวนการในการก่อเหตุ ซึ่งมีอยู่บ่อยครั้งที่
พ่อแม่ผู้ปกครองละเลยไม่ใส่ใจ หลายครั้งที่พ่อแม่ผู้ปกครองหรือญาติมิตรไม่รู้เลยว่าคนใกล้ตัวเป็น“สมาชิกแนวร่วมกลุ่มขบวนการ”รู้อีกทีก็ต่อเมื่อถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญจากการปะทะ
หรือถูกจับกุมตัวบุตรหลานดำเนินคดี ผลการซักถามยอมรับสารภาพว่าเคยทำการก่อเหตุเข่นฆ่าผู้คนกระนั้นหรือ?
อย่าให้อนาคตของบุตรหลานต้องดับ ละทิ้งความฝันตัวเองด้วยการ“ซุมเปาะห์” ทำงานอยู่ภายใต้บงการของกลุ่มขบวนการ
BRN และจะต้องเสียผู้เสียคน....จบสิ้นอนาคต
-------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น