"Ruslan"
ประเด็นร้อนชายแดนใต้ในห้วงนี้คงไม่มีเรื่องใดร้อนแรงเกินกว่ากรณีเจ้าหน้าที่วิสามัญอาร์เคเค
2 ศพที่โคกสะตอ นายอิสมาแอ หามะ และ นายอาเซ็ง
อูเซ็ง เมื่อวันที่ 29
มี.ค.ที่ผ่านมากลายเป็นที่กังขาของบุคคลหลายฝ่าย
มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นหนึ่งที่ต้องรอการตรวจสอบจากฝ่ายความมั่นคง
ผลพวงจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ตอกย้ำ“ความรุนแรง”ระลอกใหม่ในทันทีเมื่อโจรใต้ทำการปล้นรถยนต์ในพื้นที่
ต.ร่มไทร อ.สุคิริน จ.นราธิวาส เมื่อตอนใกล้รุ่งของวันที่ 30
มีนาคม แล้วเดินทางไปก่อเหตุด้วยการกราดยิงตำรวจที่หน้า สภ.ระแงะ
ในขณะที่กำลังยืนแถวรับฟัง ผกก.สภ.ระแงะ ชี้แจงการปฏิบัติงานหน้าหน้าเสาธง
ส่งผลให้ ส.ต.ท.ศุภักษร ยะสุคงทน ต้อง“พลีชีพ”สังเวยเหยื่อกระสุนปืนของโจรใต้
เมื่อค่ำคืนวันที่
3 เมษายน 2560
กรณีคนร้ายไม่ต่ำกว่า 30 คน ก่อเหตุยิงถล่มจุดตรวจยุทศาสตร์ อ.กรงปินัง
จ.ยะลา โดยใช้อาวุธปืนอาก้า เอ็ม 16 และลูกซอง กระหน่ำยิงใส่ป้อมจากด้านบน
รวมทั้งใช้ระเบิดไปป์บอม ขวดน้ำมันจุดไฟขว้างเข้าใส่ภายในป้อมเจ้าหน้าที่
จนเกิดการยิงปะทะกันขึ้นส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 9
นาย หลังจากนั้นทำการตัดต้นไม้ เผายางรถยนต์ วางวัตถุต้องสงสัย โปรยตะปูเรือใบ
บนถนนสาย 410 เพื่อสกัดกั้นเจ้าหน้าที่ติดตาม
เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ถูกกระทำ
นำไปสู่การสูญเสีย เป็นที่น่าแปลกใจไม่เคยมีกลุ่ม
หรือองค์กรหน้าไหนโผล่หน้าออกมาพูดกล่าวหาว่าโจรใต้ทำเกินกว่าเหตุ หรือกระทำการ “สุดโต่ง”
โดยเฉพาะ
“อัญชนา
หีมมิหน๊ะ”หนึ่งในใน 3
นักสิทธิมนุษยชนที่หน่วยงานความมั่นคงยอมถอนแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทและการกระทำผิด
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พฤติกรรมเดิมๆ ยังไงก็ยังคงเป็นยังงั้นไม่เคยเปลี่ยน
ออกมาเรียกร้อง“เราต้องการความเป็นธรรม”น่าจะเปลี่ยนชื่อกลุ่มเสียใหม่จาก“กลุ่มด้วยใจ”เป็น
“กลุ่มได้ใจโจรใต้”ดีกว่ามั๊ย!!!
การเคลื่อนไหวของบีอาร์เอ็นในปีกนักรบ และปีกการเมือง มีอยู่บ่อยครั้งผู้ที่ทำงานการเมืองกลับเป็นผู้ก่อเหตุหรือเป็นตัวการใหญ่ เพราะฉะนั้นภาพของ “ผู้แสวงหาทางออกสันติภาพ” บนโต๊ะเจรจา แต่ก็มีอีกภาพหนึ่งถูกฉายชัดคือ “ผู้ก่อความรุนแรง”เฉกเช่นเดียวกันกับในพื้นที่ กลุ่ม PerMAS ซึ่งเป็นปีกการเมืองขบวนการหลายๆ เหตุการณ์สมาชิกในกลุ่มกลับเป็นผู้ก่อเหตุสร้างความรุนแรงเสียเอง
การเคลื่อนไหวของบีอาร์เอ็นในปีกนักรบ และปีกการเมือง มีอยู่บ่อยครั้งผู้ที่ทำงานการเมืองกลับเป็นผู้ก่อเหตุหรือเป็นตัวการใหญ่ เพราะฉะนั้นภาพของ “ผู้แสวงหาทางออกสันติภาพ” บนโต๊ะเจรจา แต่ก็มีอีกภาพหนึ่งถูกฉายชัดคือ “ผู้ก่อความรุนแรง”เฉกเช่นเดียวกันกับในพื้นที่ กลุ่ม PerMAS ซึ่งเป็นปีกการเมืองขบวนการหลายๆ เหตุการณ์สมาชิกในกลุ่มกลับเป็นผู้ก่อเหตุสร้างความรุนแรงเสียเอง
สิ่งที่อันตรายยิ่งในขณะนี้คือ
“อารมณ์” และ
“ความเห็นของคนในพื้นที่” ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
เช่น อารมณ์ความรู้สึกของ “คนบางกลุ่ม” ต่อสถานการณ์
เมื่อเห็นการสูญเสียของแนวร่วม ต่อการ “วิสามัญ” มีผู้ที่เห็นด้วย
“สะใจ” และเห็นว่าสมควรแล้ว
ส่วนเรื่องว่าใครจะผิด หรือใครจะถูก เอาไว้ทีหลัง
ในขณะที่
“คนมุสลิม” ก็จะถูกปลุกระดมว่า
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเจ้าหน้าที่รัฐเป็นฝ่ายผิด เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ
และเป็นเรื่องการสร้างสถานการณ์ โดยมี “สื่อ” ของขบวนการ
หรือกลุ่มที่ “ฝักใฝ่” ขบวนการ
เป็นผู้เปิดเกม ทั้งในสื่อกระแสหลักและในโลกโซเชียลมีเดีย
เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กรอบของกฎหมาย
มุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้กลับมาสู่เส้นทางสันติสุขที่ทุกคนคาดหวัง
สร้างความปรองดอง
ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนควบคู่มาตรการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน
อย่าให้การเปิดเกมรุกคืบของ“สื่อ” ของขบวนการ
หรือกลุ่มที่ “ฝักใฝ่” ขบวนการ
นำประเด็นเรื่อง 2 ศพที่โคกสะตอไปเป็นเงื่อนไขของการ“ปลุกระดม”
การถอนแจ้งความ 3 นักสิทธิมนุษยชนเพื่อหวังที่จะเห็นความปรองดองเกิดขึ้นในพื้นที่ก็จะเป็นเรื่องสูญเปล่า..ตราบใด
“กลุ่มได้ใจโจรใต้”ยังคงเคลื่อนไหวด้วยพฤติกรรมเดิมๆ
----------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น