"Ruslan"
เมื่อเอ่ยชื่อ
“สามจังหวัดชายแดนภาคใต้”(3 จชต.) คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะคุ้นชินและรู้จักกันเป็นอย่างดี
จากการติดตามข่าวสารในการนำเสนอของสื่อมวลชนต่อสถานการณ์ความไม่สงบอันเนื่องมาจากการก่อเหตุของกลุ่มขบวนการโจรใต้ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง..โดยอ้างหลักการของศาสนา
แล้วกระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ไม่เว้นแต่ละวันนับสิบกว่าปีที่ผ่านมา....
“สามจังหวัดชายแดนภาคใต้” ดินแดนที่มีความหลากหลายของการอยู่ร่วมของผู้คน
หลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และประเพณีวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นที่ควรค่าแก่การศึกษาและดำรงไว้อยู่คู่กับชุมชน
สังคมแห่งนี้ในอดีตที่ผ่านมาผู้คนต่างอยู่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน
ไม่มีการปิดกั้นแยกเขาแยกเรา มีการเดินทางไปมาหาสู่ฉันท์ญาติพี่น้อง ช่วยเหลือซึ่งกัน
แม้จะแตกต่าง แต่ไม่แตกแยกสามารถอยู่ร่วมกันได้ภายใต้“สังคมพหุวัฒนธรรม”ที่สวยงาม
ตั้งแต่ฉันยังเด็กและยังเล็กอยู่
ฉันยังจำความได้ซึ่งคำที่ติดหูฉันในการเรียกชื่อจังหวัดในพื้นที่ชายแดนใต้ที่มีความคุ้นชินมาแต่ไหนแต่ไร
“จังหวัดยะลา” จะเรียกกันว่า “ยาลอ” ความทรงจำในสิ่งที่ดีๆ
ของจังหวัดนี้คือความภาคภูมิใจที่ “จังหวัดยะลา” ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดความสะอาดถึง
3
ปีซ้อน อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีการจัดวางผังเมืองแบบใยแมงมุมที่สวยที่สุดของประเทศไทยอีกด้วย..
ส่วน “จังหวัดปัตตานี” ผู้คนในสามจังหวัดชายแดนใต้จะเรียกสั้นๆ
ว่า “ตานี” ความสำคัญของจังหวัดนี้มีสถานที่สำคัญๆ มากมายทางประวัติศาสตร์ วัดวาอาราม ศาสนสถาน หรือแม้กระทั่งสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนไทยเชื้อสายจีนที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่อาศัย
เช่น วัดช้างให้ มัสยิดกรือเซะ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เมืองโบราณยะรัง
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีความหลากหลายในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน
ไม่ได้เป็นสังคมเชิงเดี่ยวแต่เป็นการอยู่ร่วมของพี่น้องชาวไทยพุทธ อิสลาม
และชาวไทยเชื้อสายจีนที่เคยอาศัยอยู่ร่วมกันมาตั้งแต่อดีต
“จังหวัดนราธิวาส” เป็นจังหวัดที่ตั้งขึ้นมาใหม่ในปี
พ.ศ.2458 ส่วนชื่อเดิมของจังหวัดนี้ที่คนดั้งเดิมใช้เรียกขานคือ “มนารา” หรือ “มนารอ” ซึ่งมีความหมายว่า
“หอคอย” ซึ่งได้กลายมาจากคำว่า “กูวาลา มนารา” ที่มีความหมายว่า “กระโจมไฟ”หรือ “หอคอยที่ปากน้ำ”ส่วนชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธจะเรียกว่า “บางนรา” หรือ “บางนาค”
“จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี”ในปัจจุบัน หรือ
“ยาลอ-มนารอ-ตานี” ที่เรียกกันตามภาษาชาวบ้าน
แต่ไม่น่าเชื่อว่าห้วงสี่ปีที่ผ่านมาได้มีปีกการเมืองของกลุ่มขบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
“กลุ่ม PerMAS” ได้มีเคลื่อนไหวอย่างมีนัยทางการเมืองด้วยการคิดค้น“วาทกรรม”ใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้เรียกชื่อ“จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี”เสียใหม่ เพื่อปลุกกระแสความรู้สึกร่วมของผู้คนในพื้นที่
อีกทั้งหวังผลในเชิง “สังคมจิตวิทยา”
ปีกการเมืองกลุ่มขบวนการนำ“วาทกรรม”มาสร้างความคุ้นชิน ด้วยการใช้เรียกชื่อกลุ่มของตนเอง
ตั้งชื่อกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม สื่อเว็บไซต์ออนไลน์ สถานีวิทยุกระจายเสียง
การจัดเวทีเสวนาต่างๆ ไม่เม้นแม้กระทั่งกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐที่เดินหน้าพูดคุยสันติสุขกับรัฐบาลไทยยังนำ“วาทกรรม”ดังกล่าวไปสอดแทรกชื่อกลุ่มของตนเอง
จังหวัดชายแดนภาคใต้ในหลายพื้นที่มีความเจริญ
เป็นเมืองที่น่าอยู่ มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีความสำคัญในฐานะหัวเมืองเศรษฐกิจ
เมืองหน้าด่านที่ติดกับประเทศเพื่อบ้าน อีกทั้งยังเป็นเมืองรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
เช่น อำเภอเบตง จังหวัดยะลา อำเภอสุไหง โก-ลก จังหวัดนราธิวาส หรือบางพื้นที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาแต่ครั้งในอดีตเป็นเมืองเก่าที่มีความสำคัญ
เช่น อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นที่ตั้งของ “วังยะหริ่ง” ผู้คนในอำเภอเหล่านี้และอีกหลายพื้นที่ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง
ยังคงมีความภาคภูมิใจกับการเป็น คนเบตง เป็น คนโก-ลก และเป็น คน ยะหริ่ง
ไม่ได้ต้องการเรียกขานตนเองตามที่คนบางกลุ่มพยายามสร้าง “วาทกรรม” แต่อย่างใดเลย
พี่น้องของฉันเดินทางไปต่างบ้านต่างเมือง
เมื่อมีใครถามมาจากไหน? ก็ยังคงมีการบอกกล่าวและตอบกลับไปว่ามาจาก จังหวัดปัตตานี
ยะลา หรือนราธิวาส ไม่มีใคร? ที่ไหนเห็นดีเห็นงามกับความคิดของคนแค่บางกลุ่มด้วยการนำ“วาทกรรม”ที่ทำลายสังคมพหุวัฒนธรรม
สร้างความแตกแยกในสังคม...
ยาลอ-มนารอ-ตานี
บ้านฉัน!!
บ้านที่ฉันอยู่อาศัยมาตั้งแต่บรรพบุรุษปู่ย่าตายาย บ้านที่ฉันอยู่อาศัยอย่างมีความสุขภายใต้ความหลากหลาย
“สังคมพหุวัฒนธรรม” หากมีใคร?
ใช้“วาทกรรม” มาเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เพื่อหวังผลทางการเมืองหรือผลประโยชน์กลุ่มตน
ฉันยอมรับไม่ได้กับคนกลุ่มนั้น..หากยังดื้อรั้นยัดเยียด
“วาทกรรม” ดังกล่าวมาให้ฉันและพี่น้องของฉันอีก.....เห็นควร ปา.....ทิ้งไปให้ไกลๆ
จากแผ่นดินจังหวัดชายแดนภาคใต้...
----------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น