"กะ กันดา"
ความพยายามของ
PerMAS กับการจุดกระแสเพื่อสร้างวันเชิงสัญลักษณ์
3 กุมภาพันธ์ของทุกปีให้เป็น "วันมนุษยธรรมปาตานี"
มีการรวมพลังกางร่มแห่งสันติภาพและกางร่มบนโปร์ไฟล์ในสื่อสังคมออนไลน์ โดยมี Concept
คือ "มนุษยธรรม กับปาตานีที่ยังมีชีวิต" คนปาตานีมีสิทธิที่จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรี
ดำรงไว้ซึ่งความเป็นตัวตนของชนชาติ และอนาคตทางการเมืองของคนปาตานี
อีกทั้งเพื่อให้คู่สงครามและประชาชนทุกคนตระหนักถึงความสำคัญคุณค่าของชีวิต สิทธิของพลเรือนที่ต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองจากปฏิบัติการทางการทหาร
เพราะการเคารพหลักมนุษยธรรมกติกาสงคราม (International Humanitarian Law) นั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งระหว่างการหาทางยุติสงครามด้วยแนวทางทางการเมือง
ปีนี้ครบรอบปีที่
4 ที่กลุ่มนักศึกษาได้ทำการเคลื่อนไหว ซึ่งการกำหนดวันที่ 3
กุมภาพันธ์ของทุกปีให้เป็น "วันมนุษยธรรมปาตานี" ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร!! และเหมาะสมหรือไม่? โดยเฉพาะ Concept "มนุษยธรรม
กับปาตานีที่ยังมีชีวิต" อีกทั้งที่ผ่านมากลุ่มนักศึกษา PerMAS ยังออกแถลงการณ์โน่นนี่ อย่างเช่นใช้คำว่า "คู่สงคราม"
โดยเรียกร้องให้คู่สงครามทำสงครามภายใต้กฎกติกาสากลและคำนึงถึงหลักกฎหมายมนุษยธรรมสากล
เรียกร้องให้ประชาชนร่วมกันผลักดันให้กระบวนการสร้างสันติภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
และการเรียกร้องสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเอง
ย้อนรอยความจริงทำไม? "วันมนุษยธรรมปาตานี" ต้องเป็นวันที่
3 กุมภาพันธ์
วันอังคารที่
3 กุมภาพันธ์ 2558 กลุ่มนักศึกษา PerMAS ได้จุดกระแส "วันมนุษยธรรมปาตานี"
ขึ้นมา โดยได้ใช้เหตุการณ์คนร้ายกราดยิงสามพี่น้อง "มะมัน" (ด.ช.อิลยาส
มะมัน อายุ 6 ปี, ด.ช.บาฮารี มะมัน อายุ 9 ปี และ ด.ช.มูยาเฮด
มะมัน อายุ 11 ปี) เสียชีวิต นายเจ๊ะมุ มะมัน และนางพาดีละห์ แมยู
พ่อแม่ของเด็กได้รับบาดเจ็บ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 เหตุเกิดที่บ้านปะลุกาแปเราะ
ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส หลังเกิดเหตุกลุ่มนักศึกษา PerMAS
ได้เคลื่อนไหวชี้นำให้สังคมปักใจเชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐในการลงมือก่อเหตุเพื่อฆ่าล้างครัว
"มะมัน" เนื่องจากนายเจ๊ะมุฯ มีคดีติดตัวในข้อหาฆ่าผู้อื่นซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างประกันตัวต่อสู้ทางคดีอยู่
และเคยโดนข้อหาคดีความมั่นคงถูกควบคุมตัวเมื่อปลายปี 2556 ในเวลาต่อมาศาลได้ยกฟ้องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอเอาผิด
ครบ 1 เดือนของการเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ก่อเหตุ
2 ราย
วันที่
3 มีนาคม 2557 ครบรอบหนึ่งเดือนของการเกิดเหตุ
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุได้จำนวน 2 ราย คือ อส.ทพ.มะมิง บินมามะ
และ อส.ทพ.ซากือระ เจ๊ะแซ บุคคลทั้งสองเป็นเจ้าหน้าที่ทหารพรานสังกัดหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่
46 การจับกุมในครั้งนั้นเป็นการจับกุมตามหมายจับที่ จ.77/2557 และ 78/2557
ลงวันที่ 1 มีนาคม 2557 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
และผู้ต้องหาได้ให้การยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้ลงมือก่อเหตุ ที่ทำไปเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต้นสังกัด
มูลเหตุจูงใจในการก่อเหตุฆ่าล้างครัว
หนึ่งในผู้ต้องหาที่ทำการก่อเหตุปักใจเชื่อว่านายเจ๊ะมุ
มะมัน คือคนร้ายที่ลงมือฆ่าพี่ชายของตนเองเสียชีวิต พร้อมพี่สะใภ้ซึ่งกำลังตั้งครรภ์ได้
4 เดือน
ตนเองได้เก็บความแค้นเอาไว้ก่อนที่จะชักชวนเพื่อนร่วมงานวางแผนทำการก่อเหตุเพื่อเอาคืน
ภายหลังถูกจับกุมเจ้าหน้าที่ทหารพรานทั้งสองนายถูกปลดออกจากราชการ จึงกลายเป็น "อดีตทหารพราน
" และไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจังหวัดนราธิวาส
จนกระทั่งเมื่อวันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2558 หรือราว 11
เดือนหลังถูกจับกุมศาลจึงมีคำพิพากษา "ยกฟ้อง" โดยศาลให้เหตุผลเนื่องจาก
"ไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าบุคคลทั้งสองเป็นคนฆ่า
มีเพียงคำรับสารภาพของจำเลยเท่านั้น ส่วนภรรยาของผู้เสียหาย คือ น.ส.พาดีละ แมยู
ก็ไม่สามารถจดจำใบหน้าของผู้ก่อเหตุได้"
จากลำดับเหตุการณ์ข้างต้นที่เกิดขึ้นส่งผลให้กลุ่มนักศึกษา
PerMAS เดินหน้าเคลื่อนไหวกล่าวหาโจมตีหน่วยงานภาครัฐ
โจมตีกระบวนการยุติธรรม ความไม่ได้รับความเป็นธรรม ความไม่เท่าเทียมในสังคม
อีกทั้งการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
หากมองด้วยใจเป็นกลางเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นเรื่องส่วนตัว
เป็นการล้างแค้นกันของผู้ที่ขัดแย้งในท้องถิ่น แต่บังเอิญผู้ที่ลงมือก่อเหตุเป็นเจ้าหน้าที่ทหารพราน
เป้าใหญ่คือหน่วยงานภาครัฐจึงถูกถล่ม
อีกทั้งศาลจังหวัดนราธิวาสได้มีการยกฟ้องผู้ต้องหาในเวลาต่อมา ยิ่งทำให้กลุ่มนักศึกษา
PerMAS เคลื่อนไหวชี้นำสังคมให้เห็นถึงความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น
ซึ่งแท้จริงแล้วกระบวนการยุติธรรมว่ากันไปตามพยานหลักฐาน
ซึ่งมีอยู่บ่อยครั้งที่ศาลยกฟ้องแม้กระทั่งกลุ่ม
ผกร.เองที่เคยก่อเหตุมาอย่างโชกโชนยังเคยมีการยกฟ้องในชั้นศาล
เพราะฉะนั้นการกำหนดวันที่
3 กุมภาพันธ์ ของกลุ่มนักศึกษา PerMAS ให้เป็น "วันมนุษยธรรมปาตานี" ถือว่าเป็นความไม่ชอบธรรม
กับการที่เอาเรื่องความขัดแย้งส่วนตัวของคนในพื้นที่มาเพื่อขับเคลื่อนในเชิงสัญลักษณ์
ซึ่งการเอาเหตุฆ่าครอบครัว "มะมัน" เสียชีวิต 3 ศพนั้น
ถือว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง ที่สำคัญวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น "วันทหารผ่านศึก"
วันที่คนไทยทุกคนให้ความสำคัญ และมีจิตสำนึกยกย่องเกียรติภูมิทหารหาญของชาติที่ได้เสียสละชีวิตเลือดเนื้อในการปกปักรักษาป้องกันประเทศนี้ไว้ด้วยชีวิต
แผ่นดินไทยสงบสุขและเป็น "ไท" มาจนถึงทุกวันนี้ แต่กลุ่มนักศึกษาปัญญานิ่ม
PerMAS กลับประกาศให้วันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันมนุษยธรรมปาตานี
เนื่องจากการเสียชีวิตของเด็กน้อยสามศพครอบครัว "มะมัน"
ที่พ่อของเด็กเคยก่อเหตุเข่นฆ่าผู้อื่นรวมถึงหญิงท้อง 4 เดือนต้องจบชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องความขัดแย้งส่วนตัว
ช่างน่าสรรเสริญแนวคิดของนักศึกษาปัญญาควายกลุ่มนี้จริงๆ ไม่เคารพดวงวิญญาณบรรพชนผู้กล้าที่ปกปักรักษาชาติบ้านเมืองไว้ให้กับชนรุ่นหลังทีหนึ่งแล้ว กลับนำวันดังกล่าวมาเป็นวันเชิงสัญลักษณ์เสียนี่!!!..ช่างน่าอับอายสิ้นดี..
----------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น