โดย..บินหลา ปัตตานี
บ้านก็มีกฎบ้าน
เมืองก็มีกฎเมือง เป็นเรื่องธรรมดาของสังคมมนุษย์ เมื่อมีการรวมกลุ่มกัน
ไม่ว่ากลุ่มเล็กหรือใหญ่จำเป็นต้องมีกฎของชุมชนหรือรัฐเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
และให้คนส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตอย่างสงบสุข
ซึ่งกฎที่กำหนดขึ้นจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของพื้นที่,อีกทั้งความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่
ชื่อที่เรียกแต่ละรัฐจะแตกต่างกัน แต่วัตถุประสงค์และเป้าหมายเหมือนกันคือ
เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย บังคับ และลงโทษผู้ที่ละเมิดต่อกฎที่กำหนด
สำหรับประเทศไทย มีการปรับปรุงแก้ไขตามยุคสมัยและห้วงเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
ณ เวลานั้นๆ ปัจจุบันประเทศไทย มีการบังคับใช้กฎหมายหลายฉบับ อาทิ
กฎหมายรัฐธรรมนูญฯประมวลกฎหมายแพ่งและอาญาและกฎหมายพิเศษ เช่น กฎอัยการศึก พ.ศ.2547, พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551, พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
กฎหมายพิเศษ จะมีการประกาศใช้ตามความจำเป็นและความรุนแรงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในภาพรวมแล้วจะอำนวยความสะดวกให้กับจนท.ในการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งแต่ละฉบับจะมีข้อปฏิบัติที่เหมือนและแตกต่างกันไปบ้างใน จชต. มีการบังคับใช้กฎหมายเหมือนพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย
แต่เพิ่มกฎหมายพิเศษอีก จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งมีผู้ไม่หวังดีพยายามบิดเบือน
สร้างกระแสเพื่อให้ยกเลิกกฎหมายดังกล่าวโดยอ้างว่าละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
ผู้เขียนขอยกตัวอย่างบุคคลและองค์กรที่ออกมาต่อต้านพอสังเขปดังนี้
มูลนิธิ
ศูนย์ทนายความมุสลิม (MAC) อ้างว่ากฎหมายพิเศษคือสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง
สมาคมผู้หญิงปาตานี
ในการจัดเสวนา 100 ปี กฎอัยการศึก 10 ปี ณ ปาตานีกับการบังคับให้สูญหายของเสียงเรียกร้อง
ที่ มอ.ปัตตานีกล่าวว่า รัฐไทย ได้ใช้กฎหมายพิเศษต่อประชาชนปาตานีไปในเชิงลบ
สามารถบุกรุกค้นหาในบ้านยามวิกาล และกระทำผิดต่อหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานมีผลกระทบโดยตรง
ต่อผู้เสียหายเวลา 10 ปี รัฐบาลไม่เคยทบทวนการใช้กฎหมายพิเศษใน จชต. ไม่เคยสอบถามประชาชน ในพื้นที่ และนายกริยา มูซอ อดีตเลขาธิการ Rec
Mas ระบุว่า ตลอดระยะเวลา 10 ปี การใช้กฎหมายพิเศษของรัฐบาลไทยใน
จชต. นั้นเพื่อต้องการข่มขู่ประชาชน
นาย ชินทาโร่ ฯ กล่าวว่า การประกาศใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่
ทำให้ จนท.รัฐ มีอำนาจที่เกินขอบเขต จนท.รัฐ ใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม
และละเมิดสิทธิมนุษยชน
ก่อนที่จะให้ทราบถึงเหตุผลและความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ จชต. ผู้เขียนขอแนะนำให้รู้จักข้อกำหนด
และขอบเขตของกฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับพอสังเขปดังนี้
พ.ร.บ.กฎอัยการศึก
พ.ศ.๒2547 ประกาศใช้เมื่อมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น เช่นสงคราม, จลาจล
ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้นไม่ต่ำกว่าระดับกองพันมีอำนาจในการประกาศใช้
จนท.ฝ่ายทหารจะมีอำนาจเหนือ จนท. ฝ่ายพลเรือน จนท.ฝ่ายทหาร
มีอำนาจเต็มที่จะตรวจค้น, เกณฑ์, ห้าม, ยึด, เข้าพักอาศัย,
ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่, ขับไล่ และกักตัวไว้ไม่เกิน 7 วัน
ซึ่งฝ่ายทหารมีอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงลำพังในการแก้ปัญหา
ทำให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
พ.ร.ก.
การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ประกาศใช้เมื่อเกิดสถานการณ์ อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ
นายกรัฐมนตรี โดย
ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อบังคับใช้ ทั่วราชอาณาจักรหรือบางเขตพื้นที่โดยบังคับใช้
ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน สามารถประกาศขยายเวลาออกไปได้คราวละไม่เกิน 3 เดือน
มีข้อกำหนด ห้ามมิให้บุคคลออกนอกเคหะสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด, ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน,
ห้ามการเสนอข่าว, การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือสิ่งพิมพ์ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ, ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ,
ห้ามการใช้อาคารหรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใด
พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ.2551 ประกาศใช้เพื่อป้องกัน, ควบคุมแก้ไข และฟื้นฟูสถานการณ์ใดๆ
ที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัยอันเกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข
ทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ ให้กลับสู่สภาวะปกติ
มีอำนาจออกข้อกำหนด,
ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดเว้นการปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด,
ห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่อาคาร หรือสถานที่ที่กำหนด, ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน,
ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ, ให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับ อาจแยกประกาศพื้นที่ละฉบับ หรือพื้นที่หนึ่งทั้งสองฉบับก็ได้ เช่นใน 3 จชต. เว้น อ.แม่ลาน
ประกาศกฎอัยการศึกคู่กับ พ.ร.ก. พ.ศ.2548
ทำไมต้องประกาศใช้กฎหมายพิเศษ เพื่ออะไร
และมันกดขี่ข่มเหงประชาชนที่เขากล่าวกันจริงหรือเป็นสิ่งที่หลายคนคิดและใคร่ที่จะรู้
มูลเหตุที่ต้องประกาศใช้กฎหมายพิเศษใน จชต.
สืบเนื่องมาจาก
การก่อเหตุรุนแรงของกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนเมื่อมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กฎหมายปกติไม่สามารถบังคับใช้อย่างได้ผล เช่นการติดตามจับกุมผู้กระทำผิด จริงอยู่
จนท. ตำรวจสามารถปฏิบัติได้ แต่ไม่สะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์ เนื่องจากติดขัดในอำนาจของกฎหมายที่พึงปฏิบัติได้
เช่น การตรวจค้นต้องมีหมายค้นเป็นต้น สามารถควบคุมตัวเพื่อสอบสวนได้อย่างจำกัด สำหรับ
จนท.อื่นๆ เช่น ฝ่ายปกครอง ทหารไม่มีอำนาจ หน้าที่ในการปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุหรือภัยที่เกิดขึ้นเกินกำลังที่ตำรวจ
จะ
ดำเนินการได้
จึงจำเป็นต้องประกาศใช้กฎหมายพิเศษ เช่นกฎอัยการศึก
ทำให้ จนท.ทหารมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติช่วยเหลือตำรวจในการแก้ปัญหา เช่น การติดตาม จับกุม และตรวจค้นได้
โดยไม่ต้องขอหมายค้นทำให้สะดวกรวดเร็วในการแก้ปัญหา
และระงับเหตุที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติของจนท.อีกหลายๆเรื่องตามที่กำหนดจึงเป็นการ เติมเต็มช่องว่างกฎหมายปกติให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นโดยประกาศใช้ในพื้นที่
จว.ป.น., จว.ย.ล. และ จว.น.ธ. ยกเว้น อ.แม่ลาน จว.ป.น.
สำหรับ พ.ร.ก.
พ.ศ.2548 เป็นข้อกำหนดที่อำนวยความสะดวกให้กับ จนท.
ในเรื่องการห้ามปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ทำให้สะดวกในการแยกระหว่างคนดี
และคนร้าย และเพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชน และเสริมกฎอัยการศึก
ในเรื่องการกักตัวเพิ่มขึ้นอีก 30 วัน ทำให้ จนท. มีระยะเวลาในการสืบสวนสอบสวนผู้ต้องสงสัย
หรือผู้กระทำผิดได้มากขึ้น ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะว่าเมื่อครบ 7 วัน ตามอำนาจของกฎอัยการศึก ถ้าหาหลักฐานความผิดไม่ได้
จะต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือผู้ร้ายไป เมื่อปล่อยแล้วคนร้ายก็จะหลบหนี
และกลับมาก่อเหตุสร้างสถานการณ์อีก ใน จชต. ประกาศใช้ใน พื้นที่ จว.ป.น., จว.ย.ล.
และ จว.น.ธ. ยกเว้น อ.แม่ลาน จว.ป.น.
พ.ร.บ.2551 ให้ประกาศในพื้นที่ที่เกิดเหตุไม่รุนแรงมากนักใน จชต. ได้แก่ 4 อำเภอของ จว.ส.ข.
และ อ.แม่ลาน จว.ป.น. ซึ่งจะมีข้อห้ามต่างๆ ตามที่กล่าวข้างต้นเพื่ออำนวยความสะดวกและเกื้อกูลในการปฏิบัติของ จนท. ในการป้องกันการก่อความไม่สงบ
และที่สำคัญคือเปิดโอกาสให้ผู้ที่กระทำผิดได้เข้าแสดงตนเข้าร่วมโครงการพาคนกลับบ้าน
และเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อกลับออกมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขกับครอบครัวต่อไป
และมีการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของ จนท.
ที่นอกเหนือจากกฎหมายปกติที่ได้กำหนดไว้ด้วย
กฎหมายพิเศษทั้ง
3 ฉบับ ถ้าดูอย่าผิวเผินแล้ว จะเห็นว่ากฎหมายให้อำนาจ
จนท. ในการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกดขี่ข่มเหงประชาชน
แต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น มีการปฏิบัติที่อ่อนตัว จนท.ใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่
และห้วงเวลานั้นๆ ไม่ได้ใช้อำนาจเต็มตามข้อกำหนดตลอด
โดยให้กระทบกระเทือนต่อวิถีชีวิตของประชาชนน้อยที่สุด ข้อห้ามต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ปกติ
จนท.จะไม่ห้ามโดยให้ประชาชนปฏิบัติตามปกติ และมีอิสระในการปฏิบัติ
จะห้ามก็ต่อเมื่อเห็นว่าไม่ปลอดภัย ซึ่งในห้วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น
เช่นเหตุระเบิดที่ อ.เมืองยะลา ก็จะห้ามใช้เส้นทางที่ผ่านจุดเกิดเหตุเพื่อความปลอดภัยและเพิ่มความสะดวกต่อ
จนท.ในการระงับเหตุหรือช่วยเหลือ เมื่อสถานการณ์คลี่คลายก็จะให้ประชาชนปฏิบัติตามปกติ
ดังนั้น ประชาชนผู้บริสุทธิ์ทั่วๆไป และประพฤติโดยสุจริต
จะไม่รู้สึกเดือดร้อนกับการประกาศใช้กฎหมายพิเศษนอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับความเสียหายเรียกร้องความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของ
จนท. ตามกฎหมายพิเศษได้ด้วย
กฎหมาย คือ
ข้อกำหนดให้ปฏิบัติและห้ามปฏิบัติเป็นธรรมดาที่บางคนหรือบางกลุ่มไม่พอใจโดยเฉพาะกลุ่ม
ผกร. และกลุ่มที่ทำผิดกฎหมาย เพราะไปขัดขวางการปฏิบัติที่ไม่ดีของพวกเขา
จึงพยายามทุกวิถีทางให้ยกเลิกกฎหมายพิเศษเพื่อจะได้ก่อเหตุและทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายได้โดยสะดวกกฎหมายพิเศษอาจจะจำกัดเสรีภาพบางประการ
แต่เพื่อความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
ผู้เขียนคิดว่าประชาชนที่คิดดีทำดีซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่น่าจะเข้าใจและยอมรับได้
ท้ายนี้
ผู้เขียนใคร่ขอวิงวอนองค์กรทุกภาคส่วนอย่าได้สร้างความแตกแยกในสังคม
ซึ่งไม่เกิดผลดีอันใดเลย ทุกคนคงไม่อยากเห็นการบาดเจ็บ
และล้มตายเป็นอยู่อย่างนี้อีกต่อไป ไม่ว่าฝ่ายใดก็เป็นคนไทยด้วยกันทั้งนั้น มาช่วยกันสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นจะดีกว่า
หวังว่า อีกไม่นานคงจะได้เห็นวันนั้น……
“
วันที่ทุกคนรอคอย ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น