แบมะ ฟาตอนี
กรณีการร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการสืบสวนสอบสวน
ตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2557 เวลา 15.45 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนสอบสวน
ตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี จำนวน 5 นาย โดยการนำของ ร้อยตำรวจตรี เลิศ บุญอินทร์สุข
รองสารวัตรสืบสวน เป็นหัวหน้าชุด ขณะขับรถผ่าน พบเห็น กลุ่มวัยรุ่น 4 คน
มีท่าทีพิรุธ นั่งอยู่หน้าบ้านพักเลขที่ 56/44 ม.1
ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
จึงเข้าไปพูดคุยสอบถามและขอเข้าทำการตรวจค้น ทราบว่าเป็นบ้านเช่าของ
นายทวีศักดิ์ ปิ ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุมีเดียสลาตัน พร้อมเพื่อนอีก 3 คน ได้แก่
นายอาดือนัน มะลาแซ นายไชดี ซากา และ นายซอฟวัน สะตะ
โดยใช้เวลาในการตรวจค้นประมาณ 1 ชั่วโมง
ผลการตรวจค้น ไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย
ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2557
เวลา 14.30 น. ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ ประมาณ 30 คน
ได้เดินทางไปยื่นหนังสือร้องเรียนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานี โดยระบุว่า การตรวจค้นดังกล่าวมีลักษณะของการข่มขู่
คุกคาม และบังคับให้ประทับลายนิ้วมือ และให้ลงชื่อกำกับในเอกสาร
ซึ่งเป็นการใช้อำนาจกฎอัยการศึก โดยพลการ โดยไม่มีเหตุจำเป็น
อีกทั้งมีการข่มขู่ด้วยวาจาและได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ โดยสรุป
คือ
1. ให้เอกสารที่นายทวีศักดิ์ได้ลงชื่อไปนั้นเป็นโมฆะ
2. ขอให้ทางเจ้าหน้าที่ชี้แจงเหตุผลในการตรวจค้นดังกล่าว
3.
ขอให้หน่วยงานภาครัฐชี้แจงถึงอำนาจของเจ้าหน้าที่ในการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ DNA รวมทั้งสิทธิของประชาชนต่อเรื่องนี้
เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชน
สาเหตุของการเข้าตรวจสอบในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี
เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามแนวทางของแผนพิทักษ์ อำเภอเมืองปัตตานี
ดำเนินการกวดขันติดตามจับกุมและปฏิบัติตามกฏหมายเข้าตรวจสอบบ้านเช่าหอพักในเขตพื้นที่
อ.เมืองปัตตานี และพื้นที่ใกล้เคียง ทำการตรวจสอบหาแหล่งจำหน่าย และผู้เสพยาเสพติด
การแฝงตัวของกลุ่ม ผกร.ในการนำวัตถุระเบิดซุกซ่อนเตรียมก่อเหตุในพื้นที่ และเพื่อเป็นการจัดระเบียบบ้านเช่าหอพัก ไม่ให้เป็นแหล่งมั่วสุมยาเสพติดและสิ่งผิดกฏหมายทุกชนิด
ซึ่งในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี ทั้ง 5 นาย ได้แสดงตนเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ขอเข้าทำการตรวจสอบบุคคลภายในบ้าน
ซึ่งบางคนมีท่าทางพิรุธ แต่บางคนปกติโดยในช่วงแรกนายทวีศักดิ์ ปิ หรือ
“วี”และพวกให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบเป็นอย่างดี
เจ้าหน้าที่สอบถามบุคคลทั้ง 4 ได้แสดงตนว่าเป็นนักศึกษา กำลังศึกษาอยู่ที่
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.ปัตตานี) แต่ไม่ได้แสดงบัตรประจำตัวนักศึกษาแต่ประการใด
เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนสอบสวน จึงขอตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมกับแจ้งความประสงค์ให้ทราบว่าได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้มาตรวจสอบบ้านเช่าหอพัก
ที่มีบุคคลต่างท้องที่เข้ามาพักอาศัยอยู่ในพื้นที่เขตอำเภอเมืองปัตตานี และขอจัดทำประวัติบุคคลซึ่งทั้ง
4 คนทราบและเข้าใจ พร้อมกับยินยอมให้จัดทำประวัติ โดยการจัดเก็บลายพิมพ์นิ้วมือและเยื่อน้ำลายภายในกระพุ้งแก้ม
ซึ่งบุคคลทั้ง 4 คนเข้าใจและยินยอมให้จัดเก็บ
แต่ในขณะจัดเก็บนั้น
นายทวีศักดิ์ ปิ และนายอาดือนัน มะลาแซ
ได้โทรศัพท์ปรึกษาทนายความพร้อมกับได้ถ่ายรูปพวกไว้ในขณะปฏิบัติงานอยู่ แล้วต่อมากลับคำพูดแจ้งว่า
ไม่ยินยอมให้ตรวจเก็บสารพันธุกรรม (DNA) เจ้าหน้าที่จึงไม่ได้จัดเก็บสารพันธุกรรม
(DNA) แต่อย่างใด นายทวีศักดิ์ ปิ จึงได้โทรศัพท์ประสานให้
นายมูฮำหมัด ดือราแม
บรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้มาเป็นพยานในการตรวจค้นในครั้งนี้ด้วย
นายทวีศักดิ์ ปิ น้องชายนายปัญญา ปิ มือประกอบระเบิด ผกร.หน้าโรงเรียนนิบงชนูปถัมภ์
จ.ยะลา
นายปัญญา ปิ ซึ่งเป็นพี่ชายแท้ๆ
ของนายทวีศักดิ์เป็นสมาชิก ผกร. เป็นมือประกอบระเบิดของกลุ่มก่อความไม่สงบ อยู่ในเครือข่ายของนายอับดุลเลาะ ปุลา มีหมาย ป.วิอาญา และนายอิสมาแอ ปุลา มีหมาย ป.วิอาญา และเมื่อปี 2552 จากกรณี กลุ่ม
ผกร.ทำการลอบวางระเบิดบริเวณหน้าโรงเรียนนิบงชนูปถัมภ์ เขตเทศบาลนครยะลา
แต่เกิดข้อผิดพลาด เป็นเหตุให้ผู้ร่วมก่อเหตุคนหนึ่งเสียชีวิตทันทีในที่ก่อเหตุคือ
นายซาลาฮูดิน ปุลา ซึ่งป็นน้องชายของนายอับดุลเลาะ ปุลา
จากการตรวจสอบโทรศัพท์ของนายซาลาฮูดิน
ปุลา พบว่ามีความเชื่อมโยงกับนายปัญญา
ปิ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เข้าทำการควบคุมตัวนายปัญญา ปิ และให้การยอมรับสารภาพว่าได้ร่วมกันประกอบระเบิดดังกล่าวกับนายอับดุลเลาะ ปุลา และนายอิสมาแอ ปุลา จริง
ต่อมานายอิสมะแอ ปุลา
ได้ถูกจับกุมตัวในพื้นที่ ตำบลตะลุโบ๊ะ อำเภอเมืองปัตตานี เมื่อปี 2555 ซึ่งในขณะนี้บุคคลทั้ง
3 ราย คือ นายปัญญา ปิ นายอับดุลเลาะ ปุลา
นายอิสมะแอ ปุลา
ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำจังหวัดยะลา
สื่อแนวร่วม นักวิจัยอิสระ
องค์กรภาคประชาสังคม พร้อมใจกันประโคมข่าว
นางสาวรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิจัยอิสระ ได้ในโพสเฟสบุ๊คส่วนตัว แสดงความคิดเห็นกรณี
เจ้าหน้าที่ตำรวจ ค้นหอพักและถูกบังคับให้ตรวจ DNA ของ นายทวีศักดิ์ ปิ ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุมีเดียสลาตัน ซึ่งข้อความตอนหนึ่งระบุว่า “ตำรวจเข้าไปตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นไม่ได้
กฎอัยการศึกให้อำนาจทหารในการตรวจค้นจับกุมโดยไม่มีหมายศาลได้ แต่ตำรวจทำไม่ได้
ตำรวจเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานได้ ซึ่งหมายถึงว่าต้องไปร่วมกับทหาร”
ข้อเท็จจริงของการใช้อำนาจตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พุทธศักราช 2548
ในความเป็นจริงแล้วการใช้อำนาจตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พุทธศักราช 2548
ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ตามคำสั่ง ที่ 298/50 ลง 26
ส.ค.2550 เรื่องแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจตรวจค้นตาม
พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ให้นายทหารชั้นสัญญาบัตรที่มียศตั้งแต่ ร้อยตรี
เรือตรี และเรืออากาศตรี นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรตั้งแต่ ร้อยตำรวจตรี
หรือพนักงานฝ่ายปกครองตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป
มีอำนาจตรวจค้นตาม พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องที่เกิดขึ้นพร้อมให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนการร้องเรียนของเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในครั้งนี้ โดยเฉพาะผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานี
จะเข้าไปทำความเข้าใจต่อผู้บริหารสถานีวิทยุมีเดียสลาตัน และต่อผู้เสียหายต่อไป
การเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมเหมาะเจาะถูกที่
ถูกเวลาแทบทุกครั้งที่เกิดเรื่องราวขึ้น
ซึ่งเป็นความจับมือกันอย่างเข้มแข็งในการปฏิบัติหน้าที่ของแนวร่วมเครือข่าย ผกร.
ในการฉกฉวยโอกาสในการป้ายสีให้กับเจ้าหน้าที่รัฐจนตั้งตัวแทบไม่ทัน
มีการจุดกระแสขึ้นชี้ให้เห็นการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ ทั้งที่ในบางครั้งองค์กรเหล่านี้ถึงกับออกหน้าช่วยเหลือ
ผกร.ให้พ้นผิด โดยไม่สนว่าบุคคลผู้นั้นผิดจริงหรือมีความเชื่อมโยงกับแนวร่วมขวนการหรือไม่
อย่างไร
ผู้ที่ถูกทำการตรวจค้นบ้านพักในครั้งนี้อาจจะเป็นแนวร่วมหรือเกี่ยวข้องกับกลุ่ม
ผกร.หากจะดูความสัมพันธ์เชื่อมโยงของบุคคลในครอบครัวของนายทวีศักดิ์ ปิ
ที่โดนจับกุม คุมขังอยู่ในเรือนจำจังหวัดยะลาเป็นถึงมือประกอบระเบิด
ในขณะที่ความตั้งใจจริงของเจ้าหน้าที่ระดับผู้ปฏิบัติต่างทุ่มเทเสียสละในการทำงานบังคับใช้กฏหมายเพื่อช่วยกันคลี่คลายและระงับเหตุป้องกันจากการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุดและได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินร่วมกัน
แต่กลับเกิดประเด็นการร้องเรียนกล่าวหาว่าเป็นการคุกคาม ข่มขู่ น่าเหนื่อยใจแทนเจ้าหน้าที่ดีๆ
ที่ทุ่มเทการปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขัน
ในเมื่อทำอะไรไม่ได้สักอย่างแล้วใครหน้าไหนจะยอมเปลืองตัวเสียสละลงมาแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แห่งนี้
*****************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น