"กะ กันดา"
นับเป็นความพยายามขององค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านสิทธิส่งท้ายปี
และพยายามหยิบยกประเด็นที่มีความอ่อนไหวในเรื่องของความรู้สึกชี้นำสังคมให้เห็นด้วย
และคอยจับผิดเจ้าหน้าที่ในการสอนนักเรียนตาดีกาว่าแต่งกายอย่างไร?
ในระหว่างสอนถืออาวุธและมีการบังคับเด็กหรือไม่? องค์กรภาคประชาสังคมบางกลุ่มมีความย่ามใจหลังจากก่อนหน้านี้เคยเปิดประเด็นการซ้อมทรมานในพื้นที่
จชต. จนถูกหน่วยงานภาครัฐฟ้องร้องดำเนินคดีมาแล้ว ในข้อหาจัดทำรายงานเสนอต่อสาธารณชนอันเป็นเท็จ
อีกทั้งนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
แต่มีการถอนฟ้องและสั่งไม่ฟ้องในเวลาต่อมาเนื่องจากทางรัฐต้องการให้กลับตัวมาช่วยแก้ปัญหา
องค์กรภาคประชาสังคมเหล่านี้รู้หรือไม่ว่าปัญหาความไม่สงบใน
จชต. ผู้ก่อเหตุรุนแรงส่วนหนึ่งที่ก่อเหตุร้ายรายวันเป็นใครมาจากไหน?
รู้หรือแกล้งไม่รู้ ต้องยอมรับความจริงว่าผู้ก่อเหตุรุนแรงส่วนหนึ่งมาจากจากการบ่มเพาะเด็กและเยาวชนที่ศึกษาอยู่ในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา), สถาบันศึกษาปอเนาะ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานศึกษาธิการภาค
8 ในพื้นที่ 3 จชต.และ จ.สงขลา มีมากกว่า
2,489 แห่ง มีผู้เรียน 408,890 คน ซึ่งในอดีตเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงตาดีกา
หรือสถาบันศึกษาปอเนาะเหล่านี้เลย กลายเป็นช่องว่างให้กลุ่มขบวนการทำการบ่มเพาะเด็กและเยาวชน
ปลูกฝังอุดมการณ์ที่ผิดๆ บิดเบือนประวัติศาสตร์ปัตตานี บิดเบือนหลักคำสอนศาสนา
อีกทั้งยังใช้สถานศึกษาเหล่านี้ ในการเก็บซุกซ่อนอาวุธปืน เป็นที่หลบซ่อนตัว และใช้เป็นสถานที่ประกอบวัตถุระเบิด
ตั้งคำถาม!!
ไปยังองค์กรภาคประชาสังคม จะป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนซึ่งเปรียบเสมือนผ้าขาวเหล่านี้
ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มขบวนการได้อย่างไร?
ในเมื่อเป้าหมายกลุ่มขบวนการต้องการบ่มเพาะ สร้างคนดีให้กลายเป็นคนไม่ดี เราจะนั่งทำเป็นทองไม่รู้ร้อนธุระไม่ใช่..ได้หรือ?
ในเมื่อมีเด็กและเยาวชนจำนวนมาก ที่ถูกหลอกให้เข้าสู่วังวนความชั่วร้าย ต้องหมดสิ้นอนาคตบางรายถึงต้องตายและมีจำนวนไม่น้อยต้องติดคุก
เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการระงับยับยั้งป้องกันไม่ให้กลุ่มขบวนการบ่มเพาะหน่อพันธุ์ที่ไม่ดี มีวิธีเดียวเท่านั้น คือเจ้าหน้าที่ทหารจะต้องเข้าไปในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา), สถาบันศึกษาปอเนาะ
และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา มีความจำเป็นที่ต้องพบปะบุคลากรครู เจ๊ะกู เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
ป้องกันการสร้างความเกลียดชังเพิ่ม ไม่ให้สร้างความแตกแยกในสถานศึกษา อีกทั้งยังให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ
ตามโอกาสที่เอื้ออำนวย ล่าสุดจะมีการจัดตั้ง“ชมรมตาดีการะดับตำบล” ซึ่งจะเป็นศูนย์รวมของผู้นำท้องถิ่น
ผู้นำท้องที่ คณะกรรมการมัสยิด ผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้าน
ผู้ปกครองเด็กนักเรียนตาดีกา และผู้ที่มีอุดมการณ์ที่จะสร้างเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดี
มีคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม อีกทั้งยังเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่
เป็นการเสริมสร้างให้คนในชาติอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขในสังคมที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา และมีอุดมการณ์รักชาติร่วมกันพัฒนาชาติไทยสืบไป
เจ้าหน้าที่มีความจำเป็นในการพกพาอาวุธไว้เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่ไม่คาดฝันเป็นการเตรียมความพร้อมในทุกโอกาส
เอาไว้ปกป้องคุ้มครองประชาชนผู้บริสุทธิ์ และป้องกันตนเองในขณะเดินทางเพื่อพบปะนักเรียน
บุคคลากรครูในสถานศึกษา แต่ไม่ได้ใช้อาวุธในการสอน หากมีภาพเด็กและอาวุธหมายถึงเด็กร้องขอที่จะศึกษา
ไม่ต่างจากกิจกรรมวันเด็ก
แต่จากการชี้ให้สังคมเกิดการเข้าใจผิดว่าเป็นการละเมิดสิทธิเด็กขององค์กรภาคประชาสังคม
หากพิจารณาสาเหตุอาจมาจากกลุ่มขบวนการไม่สามารถบ่มเพาะเด็กและเยาวชนอีกต่อไปได้เหมือนดั่งเช่นในอดีตที่ผ่านมา
อีกทั้งยังเสียมวลชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าไปปฏิบัติ ในสถานศึกษาของเจ้าหน้าที่ทหาร
จึงใช้ภาคประชาสังคมเคลื่อนไหวกดดันผ่านสื่อและองค์กรต่างๆ
อยากจะรู้เหมือนกันองค์กรภาคประชาสังคมใดบ้างที่ออกมาสร้างเงื่อนไขและต้องการสิ่งใดกันแน่!!
ช่วยตอบเสียงดังๆ ให้พ่อแม่ผู้ปกครองนักเรียนตาดีกา, สถาบันศึกษาปอเนาะ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาได้ยินกันถ้วนหน้าทีว่า
แท้จริงแล้วองค์กรภาคประชาสังคมเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่
หรือมีหน้าที่สนับสนุนกลุ่มขบวนการในการสร้างความเกลียดชังและใช้ความรุนแรง
คอยปกป้องผู้กระทำความผิด ให้พ้นผิด มุ่งส่งเสริมให้มีการบ่มเพาะต้นกล้าที่ไม่ดีในสถานศึกษาไว้เข่นฆ่าประชาชน
หลังจากนี้ไปขอให้พี่น้องประชาชนช่วยกันจับตาและสอดส่องกลุ่ม NGOs ทาสขบวนการที่จะเคลื่อนไหวต่อไป
----------------------