‘แบดิง โกตาบารู’
แล้วนักศึกษาที่จับได้เป็นนักกิจกรรมองค์กรไหน?...
ความเหมือนของเหตุคาร์บอมบ์เมืองนรา-สู่เหตุระเบิดป่วนเมืองยะลา
44 จุด หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ปิดล้อมหอพักนักศึกษาควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย
กลุ่ม PerMAS กดดันเคลื่อนไหวออกแถลงการณ์ให้ปล่อยตัว
กล่าวหาเจ้าหน้าที่ละเมิดสิทธิ ในการทำกิจกรรมของนักศึกษา สุดท้าย!! ผู้ต้องสงสัยรับสารภาพมีเอี่ยวลอบระเบิดป่วนเมือง
ณ
นาที่นี้เชื่อเหลือเกินว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก สหพันธ์นิสิตนักศึกษา นักเรียน
และเยาวชนปาตานี หรือ PerMAS
ซึ่งเป็นปีกการเมืองของขบวนการ BRN มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนงานการเมือง
เป็นผู้จัดตั้งมวลชนสนับสนุนกลุ่มขบวนการ
และปลุกกระแสเรียกร้องให้มีการลงประชามตินำไปสู่การกำหนดใจตนเอง
เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากรัฐไทย
ในสายตาของประชาชนปาตานีที่ไม่รู้เท่าทัน
PerMAS
เข้าใจว่ากลุ่มนักเรียน
นักศึกษาคือความหวังหนึ่งเดียวของปาตานีที่ได้ขับเคลื่อนต่อสู้เพื่อประชาชน
ตามแนวทางของประชาธิปไตย ด้วยการแสดงออกทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ
แต่เบื้องลึกจะมีใครรู้บ้างว่ากลุ่มนักเรียน
นักศึกษาเหล่านี้ได้ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มขบวนการ BRN ในการก่อเหตุสร้างสถานการณ์
หลายต่อหลายเหตุการณ์ด้วยกันที่ลงมือก่อเหตุกระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์
กว่าจะรู้ว่าเป็นฝีมือใครที่กระทำความรุนแรงก็ต่อเมื่อได้กลายเป็นศพ
หรือไม่ก็ถูกจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมาย
หากท่านที่ติดตามข่าวสารในการนำเสนอของสื่อมวลชนจะพบว่าจากเหตุระเบิดที่นราธิวาสพร้อมกัน
3 จุด เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งในเวลาต่อมามีการตรวจค้นหอพักและควบคุมตัวนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
และบุคคลที่ถูกควบคุมตัวหลายคนให้การรับสารภาพว่าเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการลอบวางระเบิดในครั้งนั้นจริง
นายอัมรีย์
วรรณมาตร,
นายอิสมะแอ เจ๊ะโซะ และนายรีดวน สุหลง
ได้ยอมรับมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ โดยเฉพาะ นายรีดวน สุหลง
ยอมรับว่าได้ร่วมประชุมวางแผนกำหนดเส้นทางพื้นที่เป้าหมายในการก่อเหตุ
และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมนำพากลุ่มปฏิบัติการเข้าพื้นที่เป้าหมาย
เป็นผู้ควบคุมผู้ร่วมก่อเหตุไปรับรถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก มิตซูบิชิ สตราดา
ตอนครึ่งสีบรอนซ์เงิน และรถจักรยานยนต์ ฮอนด้า เวฟ สีดำ-แดง
ที่ซ่อนระเบิดแสวงเครื่องแล้ว ไปเก็บซุกซ่อนไว้ก่อนนำไปก่อเหตุ
ถัดมาวันที่ 2 มิถุนายน เจ้าหน้าที่ได้เปิดแผนตรวจค้นต่อเป้าหมายย่านตลาดเก่า
เขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 9 เป้าหมายด้วยกัน
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหอพักบ้านเช่านักศึกษา ได้เชิญตัวผู้ต้องสงสัยเกี่ยวข้องต่อกรณีปล้นรถยนต์กระบะที่
อำเภอยะหา และเหตุลอบวางระเบิดในพื้นที่จังหวัดยะลามาทำการซักถาม
และในวันเดียวกันนั้นเจ้าหน้าที่อีกชุดหนึ่งได้ทำการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย จำนวน 5 คน ขณะทำกิจกรรมค่ายเยาวชนที่โรงเรียนดารุสสาลามมูลนิธิ ม.6 ต.โคกสัก อ.บางแก้ว จ.พัทลุง รวมแล้วได้ควบคุมตัวนักศึกษาหลายสิบคน
ผลการซักถามผู้ที่ถูกควบคุมตัว
จำนวน 4 ราย คือ นายอับดุลฟาริด สะกอ, นายไซดี ทากือแน,
นายซอบรี กาซอ และ นายแยสฟรี หะยีปูต๊ะ
ให้การรับสารภาพว่าร่วมก่อเหตุลอบวางระเบิดในพื้นที่จังหวัดยะลาเมื่อ 14-16 พฤษภาคม จำนวน 44 จุด และผู้ที่ยอมรับสารภาพนั้น มี
2 ราย
ยังเป็นนักศึกษาอยู่ซึ่งกำลังศึกษาอยู่วิทยาลัยสารพัดช่างจังหวัดยะลา และ
มอ.ปัตตานี
ความเหมือนกันของเหตุลอบวางระเบิด
ถนน ณ นคร จังหวัดนราธิวาส และในเขตเทศบาลนครยะลา ทั้งสองเหตุการณ์
คือมีการตรวจค้นหอพักนักศึกษา เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ในการติดตามจับกุมผู้ต้องสงสัยในการก่อเหตุ
ความเหมือนอีกอย่างหนึ่งคือความพยายามของกลุ่ม
PerMAS
ในการเคลื่อนไหวกดดันเจ้าหน้าที่ให้มีการปล่อยตัวนักศึกษา
มีการบิดเบือนข้อมูล และชี้นำทางความคิด ด้วยการออกแถลงการณ์ กล่าวหาว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
เป็นการก้าวล่วงการจัดกิจกรรมของนักศึกษา
แต่เป็นเพราะหลักฐานเชื่อมโยงในเวลาต่อมาผู้ถูกจับกุมได้ยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้ลงมือก่อเหตุลอบวางระเบิด
และเป็นผู้ร้ายตัวจริง
การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาด้วยการก่อเหตุ
นอกจากได้สร้างผลกระทบต่อเป้าหมายแล้ว
ยังส่งผลต่อสมาชิกแนวร่วมผู้กระทำที่จะต้องถูกจับกุมตัวมาดำเนินคดี
และบางรายมีหมายจับต้องหนีไปกบดานยังประเทศเพื่อนบ้าน
อย่างล่าสุดผู้ต้องหาหมาย
ป.วิอาญา 2 หมาย ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ซึ่งหลบหนีการจับกุมไปอาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซีย
ได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ทหารเพื่อเข้ามอบตัว เมื่อ 1 มิถุนายน
ที่ผ่านมา
ผู้ต้องหาตามหมาย
ป.วิอาญา คนดังกล่าวได้ยอมรับว่าเป็นสมาชิกกลุ่ม ผกร.ตั้งแต่ปี 2553 ได้กระทำพิธีสาบานตน (ซูมเปาะ)
และมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุรุนแรงในพื้นที่ ด้วยการลอบวางระเบิด สภ.ปะลุกาสาเมาะเมื่อ
14 กันยายน 2554 เหตุลอบยิง
นางสาวอรุณ บัวจุด ปลัด อบต.ปะลุกาสาเมาะ
เสียชีวิตบริเวณตลาดนัดกือดายือริง เมื่อ 2 ธันวาคม 2554
สาเหตุที่ได้ติดต่อเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่
เนื่องจากหลบหนีไปอยู่ในประเทศมาเลเซียตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 2555 รู้สึกคิดถึงบ้าน และที่สำคัญเข้าใจแล้วว่าการเป็นสมาชิกกลุ่ม ผกร.
ต้องทำให้ชีวิตต้องลำบาก และสิ่งต่างๆ
ที่มีการปลุกระดมจากขบวนการไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
จึงอยากยุติและหันหลังให้กับความรุนแรง ส่วนหนึ่งมีความไว้วางใจต่อเจ้าหน้าที่
จึงขอเข้าร่วมโครงการพาคนกลับบ้าน เพื่อกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขกับครอบครัวยังบ้านเกิดเมืองนอน
ไม่ต้องหลบหนีการจับกุมอีกต่อไป
การมุ่งสร้างความรุนแรงที่กลุ่มขบวนการได้ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ได้สร้างผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนจำนวนมาก
ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีต่อแนวทางการเอาชนะด้วยการใช้กำลังในการต่อสู้ใดๆ เลย
มีแต่สร้างความเสียหาย และความสูญเสียอย่างประเมินค่ามิได้
การบิดเบือนข้อเท็จจริงของกลุ่มองค์กร
อย่างเช่นพฤติกรรมของสหพันธ์นิสิตนักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี หรือ PerMAS ที่ทำการปลุกกระแสเรียกร้อง ชี้นำทางความคิดของประชาชน
จะต้องไม่ล้ำเส้นความมั่นคงของประเทศ
การดำเนินกิจกรรมจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย
จะต้องยอมรับความจริงว่าผู้ที่กระทำความผิดจะต้องได้รับโทษทัณฑ์
การใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมายในการกดดันการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้ทำการปล่อยตัวคนผิดไม่ได้ส่งผลดีใดๆ
ต่อองค์กรเลย และสมควรที่จะหยุดพฤติกรรมเหล่านี้เสียที ควรมุ่งจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ที่องค์กรนักศึกษาอื่นๆ
กระทำกัน เพื่อประโยชน์ต่อนักศึกษาและประชาชนโดยรวม
ร่วมขับเคลื่อนนำพาสันติสุขกลับคืนมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีกว่ามั๊ย….
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น