2/22/2560

“ปาตานี”เป็น“วาทกรรม”ที่ยังห่างไกลศาสนา

"สหายท่านหนึ่ง"


ทำไม!! ผู้เขียนจึงจั่วหัวเรื่องปาตานีเป็นวาทกรรม ที่ยังห่างไกลศาสนา..แล้วการใช้วาทกรรมเกี่ยวข้องอะไรกับศาสนา โดยเฉพาะการใช้ วาทกรรม”“ปาตานีมีนัยแอบแฝง เพื่อปลุกกระแสความเป็นชาติพันธุ์ ปลุกเร้าในการต่อสู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักคำสอนของอิสลามอย่างแท้จริง

มลายู คือ ชาติพันธุ์หนึ่งที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรวมแล้วมีประชากรราวๆ ประมาณ 300 ล้านคน ซึ่งแยกกันอยู่ในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, บรูไน และทางตอนใต้ของประเทศไทยเรา

ปาตานี คือ ดินแดนรัฐเชิงจารีตในอดีตกาล มีสถานะเป็น นครรัฐ (state city) เฉกเช่นเดียวกับ นครรัฐสงขลา”“นครศรีธรรมราชในอดีต และในปัจจุบันนครรัฐเหล่านี้ได้ล่มสลายแปรสภาพ  มาเป็นจังหวัดๆ หนึ่ง เนื่องจากเป็น รัฐชาติ (National state) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งชองประเทศไทย เช่นเดียวกับปาตานี

ซึ่งในปัจจุบันได้ถูกแบ่งเป็น 3 จังหวัดด้วยกัน กล่าวคือจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา คือ ประกอบด้วย “เทพา สะบ้าย้อย จะนะ และ นาทวี”

อิสลาม คือ ศาสนาหนึ่งๆ ที่ผู้คนส่วนใหญ่ในดินแดนมลายูนับถือ ซึ่งความหมายของ อิสลาม คือ สันติภาพในทัศนะของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.)

อิสลามเป็นศาสนา (สันติ) ที่เรียกร้องการสร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือระหว่างผู้คนต่าง   ศาสนิก ภายใต้หลักการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ยึดมั่นในหลักการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยสันติ และอิสลาม

ศาสนาอิสลามมีความยืดหยุ่นซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติในโลกแห่งความเป็นจริง ทั้งนี้เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีงามกับเพื่อนต่างศาสนิกได้อย่างเป็นรูปธรรม

วัฒนธรรม เป็นเครื่องกำหนดความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม และเป็นเครื่องกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม หมายรวมถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา นับตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา  กฎหมาย  ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ เพราะการจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้มนุษย์จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและจะต้องรู้จักควบคุมความประพฤติของมนุษย์ด้วยกัน วัฒนธรรม คือคำตอบที่มนุษย์ในสังคมคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้

วัฒนธรรมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้ 3 แบบด้วยกันกล่าวคือ วัฒนธรรมดั้งเดิม (ปาตานี), วัฒนธรรมสมัยใหม่ และวัฒนธรรมอิสลาม ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากศาสนา ความเชื่อความศรัทธา แต่หัวใจหลักคือรักสันติไม่นิยมความรุนแรง และเป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนใหญ่ในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ภายใต้  พหุวัฒนธรรม กับผู้คนต่างศาสนา ต่างเชื้อชาติ

หลักคำสอนของศาสนาอิสลาม ยอมรับความแตกต่าง และ ความหลากหลายทางศาสนา และวัฒนธรรม ตลอดจนความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ถ้าหากการกระทำ หรือคำกล่าวใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าศาสนาอิสลามมีความเกลียดชัง รังเกียจศาสนิกชนในศาสนาและชาติพันธุ์อื่นๆ

ก็ต้องกลับมาคิดทบทวนแล้วว่ามันถูกต้องหรือไม่?  เพราะปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายภาคภาคใต้   ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ มีคนบางกลุ่มได้รับการปลูกฝังให้เกิดความรู้สึก และเข้าใจในเรื่องชาติพันธุ์ 

ประวัติศาสตร์ และชาตินิยม เพื่อนำไปสู่การเรียกร้องและต่อสู้ คนกลุ่มนี้มักจะใช้วาทกรรม คำว่า ปาตานี อยู่บ่อยครั้ง เพื่อปลุกกระแสความเป็นชาติพันธุ์ ปลุกระดมให้มีการต่อสู้ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักคำสอนของอิสลามอย่างแท้จริง

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้ดั่งความว่า “ใครก็ตามที่เรียกร้องไปอะเศาะบียะฮฺ    (การคลั่งชาติ เผ่าพันธุ์ หลงตระกูล ถือพวกพ้อง) คนผู้นั้นมิได้เป็นพวกฉัน ใครก็ตามที่ต่อสู้เพื่ออะเศาะบียะฮฺ คนผู้นั้นมิได้เป็นพวกฉัน และใครก็ตามที่ตายไป เพราะสนับสนุนอาเศาะ    บียะฮฺ คนผู้นั้นมิได้เป็นพวกเดียวกับฉัน”(รายงานโดยมุสลิม อะบาวูดและอันนะสาอียฺ)

ฉะนั้นคำว่า ปาตานี ที่บุคคลบางกลุ่มนำมาใช้เพื่อปลุกกระแสความเป็นชาติพันธุ์ ปลุกระดม   ให้มีการต่อสู้ ดังกล่าวข้างต้น และมักจะมีการนำมาใช้เป็นชื่อเรียกขององค์กร เรียกขานสื่อ หรือแม้กระทั่งเรียกขานตนเองว่าเป็นชาวปาตานี จึงเป็นวาทกรรมที่ยังคงห่างไกลศาสนาโดยสิ้นเชิง....

---------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น