"Ibrahim"
ข่าวมาแรงและเป็นที่สนอกสนใจของประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้และประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
ณ เวลานี้คงไม่มีข่าวใดจะมาแย่งพื้นที่สื่อ กรณี อาจารย์ท่านหนึ่งซึ่งเป็นอดีตข้าราชการครูสอนภาษาอังกฤษและยังเป็นนักจัดรายการสถานีวิทยุชื่อดังในจังหวัดยะลา
วัย 65 ปี ได้กระทำอนาจาร-ข่มขืนเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี จำนวน 5 ราย
ล่าสุดมีการแจ้งความดำเนินคดีกับอาจารย์ท่านดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หลังถูกแจ้งดำเนินคดีหายตัวไปเจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งติดตามจับกุมตัวเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
พฤติกรรมของอาจารย์ท่านดังกล่าวถือได้ว่าช็อกความรู้สึกของพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียน
ความรุนแรงในพื้นที่เกิดขึ้นสิบกว่าปีที่ว่าเลวร้ายแล้ว ยังมาถูกซ้ำเติมจากคนเช่นนี้อีกซึ่งเป็นภัยใกล้ตัวที่ไม่น่าเกิดขึ้นจากผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นครูอาจารย์
เรื่องราวของอาจารย์โซะ เชื่อกันว่าไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นกับผู้เสียหาย 5 รายนี้เท่านั้น แต่คาดว่าคงมีอีกหลายรายที่โดนกระทำอนาจารและถูกข่มขืนแต่ไม่กล้าปริปากเปิดเผยให้สังคมได้รับรู้เนื่องเพราะความอาย
อีกทั้งไม่กล้าไปแจ้งความเอาผิดด้วยเหตุผลบางประการ
ยิ่งทำให้อาจารย์ท่านนี้ได้กระทำการละเมิดต่อเหยื่ออย่างย่ามใจ
เหตุการณ์ครูกระทำอนาจาร-ข่มขืนศิษย์เกิดขึ้นและมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งซึ่งเกิดจากความใกล้ชิดและไว้เนื้อเชื่อใจที่ศิษย์มีต่อครู
ยิ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วนอกจากอาจารย์โซะ
ยังมีเหตุการณ์ทำนองนี้อีกหรือไม่ที่ไม่เป็นข่าว การกดขี่ทางเพศโดยแอบอ้างศาสนา
เป็นครูสอนศาสนาบังหน้าเอาเด็กบำเรอกาม กระทำอนาจารชำเราเด็กแล้วจับซุมเปาะฮ์ให้เกรงกลัวต่อบาป
ทำมิดีมิร้ายกับเด็กอย่างไรก็ได้ตามอำเภอใจกลับอ้างว่าได้บุญ ขณะเดียวกันครอบงำสังคมให้มีความเชื่ออย่างผิดๆ
หากร้องเรียนโวยวายจะเป็นบาป
เรียกร้องให้องค์กรภาคประชาสังคม กลุ่ม CSO และ NGOs ออกมาเคลื่อนไหวกดดันการกระทำของคนบางคนที่ทำลายภาพลักษณ์องค์กรครู
การออกแถลงการณ์เพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ ต้องกล้าล้วงลึกตีแผ่ความไม่ชอบมาพากลในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ไม่ใช่จ้องจับผิดการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐด้วยการรายงานซ้อมทรมานเท็จที่ไม่มีแม้มูลความจริง
เอาเวลามาทำการตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ในหอพักนักเรียนดีกว่ามั๊ย
น่าจะมีประโยชน์เพื่อส่วนรวมในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตนักเรียนมุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน
อีกทั้งหามาตรการป้องกันมิให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก
ไม่ใช่ตื่นตัวตอนไฟไหม้ฟาง ออกแถลงการณ์แค่กระดาษใบเดียวแล้วเป็นอันเสร็จสิ้น ..
บทเรียนกรณีครูกระทำอนาจารข่มขืนศิษย์เป็นภัยใกล้ตัวที่สังคมควรตระหนัก
โดยเฉพาะผู้ปกครองซึ่งใกล้ชิดบุตรหลานต้องหมั่นสังเกตเอาใจใส่สอบถามสารทุกข์สุกดิบ
อย่าชะล่าใจปล่อยบุตรหลานไว้ในเอื้อมมือครูโดยลำพัง
อีกทั้งหน่วยงานรัฐต้องเข้มงวดกวดขันมาตรฐานโรงเรียน และหอพัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด
อำเภอในพื้นที่ จชต. ที่ควบคุมโรงเรียนเอกชนทั้งในระบบและนอกระบบหลายพันโรงต้องมีบทบาทสำคัญ
ประชาชนทุกคนควรมีส่วนร่วมเป็นหูเป็นตาแจ้งเบาะแสการกระทำผิดและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่รัฐ
ข้าราชการพลเรือน ครูอาจารย์ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน
หรือบุคคลทั่วไปซ้ำเติมปัญหาชายแดนใต้ทำร้ายสังคม ร่วมกันสร้างสันติสุขที่ยั่งยืนคืนความสุขให้ท้องถิ่น
อยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมภายใต้ความหลากหลาย แตกต่างแต่ไม่แตกแยก
ดั่งที่เคยเป็นมาช้านานในอดีต
-------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น