ตลอดระยะเวลา 15 ปีไฟใต้ที่ลุกลามแผดเผาทำลายสังคมพหุวัฒนธรรม
การอยู่ร่วมกันของประชาชนในพื้นที่ จชต.
ถึงแม้บางช่วงเหตุการณ์เสมือนจะสงบไร้เหตุแต่ยังคงคุกกรุ่นพร้อมที่จะลุกโชนขึ้นมา
หลายชีวิตต้องพบจุดจบ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ผู้นำศาสนา
หรือแม้กระทั่ง ผกร.เอง
ผู้คนต่างปรับตัวเพื่อสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ และแทบทุกครั้งที่เกิดเหตุปฏิเสธไม่ได้ว่าบทบาทของ
"องค์กรนักศึกษา" เป็น "ผู้เล่น"
หนึ่งในปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และดูเหมือนจะเป็น "ผู้เล่น"
ที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามในมุมมองของฝ่ายความมั่นคง
การส่งผ่านจากรุ่นสู่รุนของ "องค์กรนักศึกษา" ในนามกลุ่ม PerMAS ในปัจจุบันนี้ย่างเข้าสู่รุ่นที่ 5
มีการคัดเลือกประธานและคณะผู้บริหารองค์กรขึ้นมาเป็น "ผู้เล่น" กำหนดยุทธศาสตร์ในการเคลื่อนไหว
จัดเวทีเสวนาปลุกกระแสความเป็นมลายูปาตานี เพื่อหาแนวร่วมในการกำหนดใจตนเองแยกตัวเป็นเอกราชจากรัฐบาลไทย
แต่เอาเข้าจริงๆ "ผู้เล่น" เหล่านั้นที่ขึ้นมาเป็นทีมบริหารของ
PerMAS กลับต้องเป็นหุ่นเชิดของใคร?
บางคนที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งเป็นตัวจริงเสียงจริงที่คอยชี้ทิศทางการเคลื่อนไหวของ PerMAS
ว่าจะเดินไปในแนวทางไหนและเคลื่อนไหวอย่างไ?
อย่างเช่นเมื่อ 11 ม.ค.62 ที่ผ่านมา ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ นายอับดุลฮากิม
โต๊ะแล กรรมการบริหาร PerMAS เป็นผู้ตั้งคำถาม พล.อ.อุดมชัยฯ
หน.คณะพูดคุยสันติสุข ว่าการพูดคุยฯ ได้เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนมากน้อยแค่ไหน
เพราะสภาพความจริง กลับไม่ยอมให้นักศึกษาจัดเวทียืนยันข้อเรียกร้อง
แต่ปัดเป็นเรื่องปัญหาภายใน ไม่ให้แตะเรื่อง "เอกราช" ดังนั้นจะเสมือนเป็นเงื่อนไขปิดกั้นผู้เห็นต่างต่อการมาร่วมเวทีพูดคุยเพื่อแสดงเจตจำนงทางการเมืองหรือไม่?
นายอาเตฟ-หลวง ต. ริมทะเลสาบลูเซิร์น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เมื่อปี 60
ผู้อยู่เบื้องหลังให้นายอับดุลฮากิม โต๊ะแล ตั้งคำถาม พล.อ.อุดมชัยฯ คือนาย
อาเตฟ โซ๊ะโก อดีตเลขาธิการของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) อดีตประธาน
PerMAS และเป็นแกนนำผู้ก่อตั้ง PerMAS รุ่นแรกร่วมกับ นายตูแวดานียา ตูแมแวแง
เมื่อ 24 ม.ค.62 นายอาเตฟ โซ๊ะโก พร้อมด้วยนางอังคณา
นีละไพจิตร อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พบปะผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหนึ่งจากส่วนกลาง
พระรูปนี้มีชื่อเล่นว่า หลวง ต. เป็นพระสายธรรมกาย ซึ่งได้เดินทางมาร่วมพิธีศพพระครูประโชติรัตนานุรักษ์
เจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดี ที่ถูก ผกร. สังหาร การพบปะของ นายอาเตฟและนางอังคณา มีความน่าสนใจ
เป้าหมายเพื่อดึงพระสายธรรมกายมาสนับสนุนงานการเมือง จชต. มีการตกลงและรับข้อเสนอของ
นายอาเตฟ โดยจะส่งนักบวชสายวัดพระธรรมกาย ลงพื้นที่ จชต. จัดกิจกรรมกับชาวไทยพุทธ เพื่อชี้นำให้เห็นถึงความล้มเหลวในการแก้ปัญหา
จชต. การพบปะครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ความสัมพันธ์ก่อนหน้านั้น นายอาเตฟ เคยพบกับ
หลวง ต. ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เมื่อปี 60 และได้ถ่ายภาพร่วมกันที่ทะเลสาบลูเซิร์น
นายอาเตฟ-หลวง ต.- นางอังคณา ณ สนามบินแห่งหน่งหนึ่งในภาคใต้ ปี 62
-------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น