7/30/2559

การเขียนข้อความในบัตรเลือกตั้งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย


ความพยายามของเว็บเพจ:Patani Peace Dialogue เกี่ยวกับการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ ยังคงมีการเคลื่อนไหวสร้างความสุ่มเสี่ยงต่อผู้ที่ไม่รู้กฎหมายให้กระทำการในลักษณะของการขีดเขียนลงในบัตรเลือกตั้ง

การกระทำของแอดมินเว็บเพจ:Patani Peace Dialogue นำเรื่องการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญมาผูกกับแนวความคิดการแยกตัวเป็นเอกราชด้วยการปลุกกระแสสันติภาพ แนวทางสันติวิถี การ‎เคารพเสียงประชาชน ว่าด้วยการกำหนดชะตากรรมตนเอง Rights to Self Determination มีการเผยแพร่บัตรออกเสียงประชามติ สิทธิกำหนดชะตากรรมตนเองโดยจุดประเด็นท่านคือผู้กำหนดชะตากรรมสถานะอนาคต ปาตานีจงเลือกระหว่าง เอกราชจากรัฐไทย หรือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทยต่อไป

ล่าสุดยังคงมีความพยายามเคลื่อนไหวออกมาอีกระลอกด้วยการนำบัตรเลือกตั้งมาเขียน เอกราชปาตานีสำรวจทางเลือก‎ประชามติรัฐธรรมนูญรัฐไทย‎ในปาตานี ‎รับรัฐธรรมนูญหรือ‎ไม่รับรัฐธรรมนูญPATANI_MERDEKA ‎เอกราชปาตานี #‏فطاني_مرديكا
การเขียน PATANI_MERDEKA ‎เอกราชปาตานี #‏فطاني_مرديكا ในบัตรเลือกตั้ง การถ่ายรูปบัตรเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย รวมไปถึงข้อปลีกย่อยในการห้ามทำโพล 7 วันก่อนลงประชามติอีกด้วยซึ่งหากผู้ใดดำเนินการถือว่าเป็นการฝ่าฝืนและกระทำผิดกฎหมายเช่นเดียวกัน

มีบุคคลบางกลุ่มมีความพยายามนำประเด็นในเรื่องของศาสนาซึ่งมีความละเอียดอ่อนชี้นำให้เห็นว่ามีการกีดกันในการประกอบศาสนกิจศาสนาน้อยลง ซึ่งไม่ได้เป็นความจริงแต่ประการใด โดยเฉพาะในห้วงเดือนรอมฏอนที่ผ่านมารัฐบาลได้สนับสนุนการถือศีลอดของพี่น้องไทยมุสลิมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ตลอดจนได้มีการสนับสนุนให้มีการเดินทางไปแสวงบุญยังเมืองเมกกะเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง
การเคลื่อนไหวในสื่อสังคมออนไลน์ชายแดนใต้เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการสอดรับกับการออกมาเคลื่อนไหวบิดเบือนข้อมูลในเรื่องงบอุดหนุนการศึกษาที่มีการสร้างข้อมูลว่ารัฐบาลสนับสนุน 12 ปี ได้สร้างผลกระทบต่อโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในพื้นที่ที่มีผู้ปกครองส่งบุตรหลานไปทำการศึกษาเป็นจำนวนมาก

การเคลื่อนไหวดังกล่าวได้สร้างความสับสนและเข้าใจผิดต่อประชาชนรากหญ้าในพื้นที่ หาแนวร่วมหาพวกเพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตน


ข้อเท็จจริง คสช.ได้ใช้ ม.44 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2559คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 28/2559 เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสทางการศึกษา และความเป็นธรรมในสังคม แก้ปัญหาความยากจน ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ทำการยกระดับจากการเป็นโครงการตามนโยบายของแต่ละรัฐบาลให้เป็นหน้าที่ของรัฐและมาตรการตามกฎหมาย เพื่อเป็นหลักประกันความยั่งยืนมั่นคง และเพื่อให้สามารถจัดงบประมาณสนับสนุนได้อย่างต่อเนื่อง.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น