เมื่อวันที่ 21 ก.ค.59 เว็บเพจ The Ferderation of Patani
Students and Youth ซึ่งเป็นของกลุ่มนักศึกษา PerMAS ได้มีการเชิญชวนเพื่อนๆ นิสิตนักศึกษา นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว
ตลอดจนประชาชนทั่วไปร่วมรณรงค์ Self Determination of Patani ซึ่งเป็นวิธีการและหลักคิดที่กลุ่มนักศึกษา PerMAS ได้รณรงค์มาอย่างต่อเนื่องเพื่อสิทธิและเสรีภาพในการกำหนดชะตากรรมตนเอง
แยกตัวเป็นเอกราชออกจากประเทศไทย
กลุ่มนักศึกษา PerMAS ใช้ยุทธวิธีในการเชิญชวนผู้คนให้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยการใช้ข้อความหลากหลายภาษาด้วยกัน
มีการใช้สถานที่ในการเคลื่อนไหวโดยใช้สถานที่ต่างๆ
ในการชูป้ายข้อความไม่ว่าที่สาธารณะ สถานที่ซึ่งเป็นเชิงสัญลักษณ์ความเป็นมลายู
รวมไปถึงมัสยิด ถามไปยังกลุ่มนักศึกษา PerMAS ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงไรหรือไม?
ที่กระทำแบบนั้น มัสยิดเป็นบ้านของอัลเลาะห์ การใช้มัสยิดซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เคลื่อนไหวทางการเมือง
มีแต่จะทำให้เสื่อมและทำลายความรู้สึกของศาสนิกชนผู้ที่เคร่งครัดหลักคำสอนในศาสนา
ในแง่ของกฎหมาย สิ่งที่นักศึกษา PerMAS กำลังดำเนินการอยู่ เป็นสิ่งท้าทายอำนาจรัฐ หมิ่นเหม่ต่อการกระทำผิดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญประเทศไทย
ซึ่งจากพฤติกรรมรุ่นสู่รุ่นของนักศึกษา PerMAS ยังคงเล่นบทบาทเป็นปีกการเมืองกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็นมาโดยตลอด
มักชอบแอบอ้างประชาชนในพื้นที่ต้องการอย่างโน้นอย่างนี่
แต่ในความเป็นจริงการเรียกร้องดังกล่าวเป็นการสนองตัณหาของแกนนำบางคนที่ต้องการเป็นใหญ่
หากย้อนดูผล‘สำรวจสันติภาพ’ชายแดนใต้รอบแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559 โดยผู้แทนของสถาบันทางวิชาการและองค์กรประชาสังคม
15 องค์กร
ได้ร่วมกันแถลงข่าวผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้
(Peace Survey) ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ต่อประเด็นที่นักศึกษา
PerMAS รณรงค์ Self Determination of Patani ในการกำหนดชะตากรรมตนเอง จากการสำรวจ ประชาชนส่วนใหญ่อยากเห็นรูปแบบที่มีการกระจายอำนาจด้วยโครงสร้างการปกครองที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทยร้อยละ
26.5
รองลงมาคือรูปแบบที่มีการกระจายอำนาจมากขึ้นด้วยโครงสร้างการปกครองที่เหมือนกับส่วนอื่นๆของประเทศร้อยละ
22.2
การบริหารการปกครองที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการคือรูปแบบการปกครองพิเศษ
ภายใต้กฎหมายของประเทศไทย ที่มีการกระจายอำนาจเหมือนกับพัทยา และกรุงเทพมหานคร ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่อยากได้
หรือไม่เห็นด้วยคือการไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ เลย
และไม่ต้องการเป็นเอกราชแยกตัวเป็นอิสระจากประเทศไทย
ถามว่ากลุ่มนักศึกษา PerMAS และองค์กรภาคประชาสังคมบางองค์กรเคยเคารพการตัดสินใจของประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องการแบบนี้บ้างหรือเปล่า?..ไม่เลยมีแต่พยายามยัดเยียดและกล่าวแอบอ้างเสียงประชาชนส่วนใหญ่แบบหน้าด้านๆ
เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มของตนแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่แยแสต่อความรู้สึกของเจ้าของพื้นที่ตัวจริงเลย
ผู้เขียนเคยอ่านเจอบทความในเว็บไซต์ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
ในบล็อก South
Peace บทความเรื่อง “การกำหนดใจตนเอง (Self-determination)
กระทำได้หรือไม่? ในพื้นที่ จชต.”ซึ่งน่าสนใจว่าสิ่งที่กลุ่มนักศึกษา PerMAS ดำเนินการอยู่แท้จริงแล้วเป็นการพูดความจริงแค่บางส่วนเท่านั้น
โดยการกำหนดใจตนเอง (Self-determination) ตามกฎกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองข้อ
1 ระบุว่า “ประชาชนทั้งปวงมีสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเองโดยอาศัยสิทธินั้น
ประชาชนจะกำหนดสถานะทางการเมืองอย่างเสรี รวมทั้งดำเนินการอย่างเสรี
ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของตน”
สิทธิในการกำหนดใจตนเอง (Self-determination)
ข้อนี้ไม่สามารถกระทำได้ตามที่มีการรณรงค์และปลุกกระแสมาอย่างต่อเนื่องขององค์กรภาคประชาสังคม
เนื่องจากประเทศไทยได้ทำข้อแถลงตีความ (ข้อสงวน)
สิทธิในการกำหนดใจตนเองไม่ได้กระทำได้ในทุกๆ เรื่อง และมีข้อสงวนไว้ว่า “มิให้ตีความว่าอนุญาต หรือสนับสนุนการกระทำใดๆ ที่จะเป็นการแบ่งแยก
หรือทำลายบูรณภาพแห่งดินแดน หรือเอกภาพทางการเมืองของรัฐ เอกราชอธิปไตย
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน”
การเคลื่อนไหวขององค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่
จชต. ไม่ได้พูดทั้งหมด แต่มีการนำเอาเนื้อหาเพียงบางส่วน แล้วนำไปปลุกกระแส
ปลุกระดม มีการจัดเวทีเสวนาโน้มน้าวให้มีผู้เห็นด้วยนำไปสู่การสนับสนุนฝ่ายตนเอง
จะไม่มีการกล่าวถึงข้อสงวน และกล่าวถึงกรณีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ผ่านมาได้บัญญัติการออกเสียงประชามติไว้ว่า
“ต้องเป็นเรื่องที่กระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและของประชาชนส่วนใหญ่
จึงจะให้มีการออกเสียงประชามติ”
ที่ยกมาให้เห็นแค่บางส่วนเท่านั้นฉบับเต็มๆ
ไปอ่านเพิ่มเติมได้ตามลิ้งhttp://www.deepsouthwatch.org/node/7584
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น