“Ibrahim”
"บังคับให้มันพูดให้ได้ภายในพรุ่งนี้:
การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายในประเทศไทย ซึ่งทางแอมแนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
อ้างว่าต้องการเผยแพร่ข้อมูลจากรายงาน บังคับให้มันพูดให้ได้ภายในพรุ่งนี้
เกิดจากการเก็บข้อมูล 74 กรณี การกระทำความรุนแรง และทรมานที่โหดร้าย
ของเจ้าหน้าตำรวจ และทหาร ทั้งการทุบตี การใช้ถุงพลาสติกรัด ใช้มือหรือเชือกบีบคอ
และการกระทำให้อับอายในรูปแบบต่างๆ ซึ่งถือเป็นการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งในรายงานยังระบุอีกว่า พบปัญหาเหล่านี้เพิ่มขึ้นหลังการรัฐประหาร
การจัดงาน
"บังคับให้มันพูดให้ได้ภายในพรุ่งนี้ :
การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายในประเทศไทย เมื่อ 28 ก.ย.59 ต้องล่มกลางคัน
เนื่องจากหนึ่งในผู้ร่วมบรรยาย คือนาย ราเฟนดิ จามิน
ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอทเนสตี้
อินเตอร์เนชั่นแนล ไม่มีใบอนุญาตทำงานในไทย โดยกระทรวงแรงงาน
ระบุว่าตัวแทนจากแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลไม่มีใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
หากขึ้นพูดบนเวทีอาจถูกจับตามกฎหมายได้ แต่ไม่ได้ยุติงานแต่อย่างใด
หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้แถลงยุติการจัดงานดังกล่าว
องค์กรแอมเนสตี้
อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นใคร? มาจากไหน
องค์กรแอมเนสตี้
อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ องค์การนิรโทษกรรมสากล
เป็นองค์การพัฒนาเอกชนที่มีจุดประสงค์ “ในการค้นคว้าและดำเนินการป้องกันและยุติการทำร้ายสิทธิมนุษยชน
และเพื่อแสวงหาความยุติธรรมสำหรับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ” ซึ่งก่อตั้งขึ้นกรุงลอนดอน
สหราชอาณาจักร เมื่อปี ค.ศ. 1961
องค์กรแอมเนสตี้
อินเตอร์เนชั่นแนล มุ่งแต่เปิดเผยรายงาน “บังคับให้มันพูดให้ได้ภายในพรุ่งนี้”
ว่าด้วยการทรมานผู้ต้องหาในประเทศไทย 74 กรณี ในช่วงปี 57-58
ที่ได้จากการวบรวมเอกสารของศาล ประวัติการรักษาพยาบาล และบทสัมภาษณ์ของเหยื่อ
ซึ่งก่อนหน้านี้การนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จขององค์กรภาคประชาสังคมบางกลุ่มในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ได้มีการกล่าวเกินจริงและหน่วยงานความมั่นคงได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันอยู่ในชั้นศาล
ปัญหาการกระทำความรุนแรงในประเทศไทย
โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่อยากให้องค์กรภาคประชาสังคม
หรือองค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มองแค่ด้านเดียว
ที่มุ่งศึกษาจากข้อมูลจากการวบรวมเอกสารของศาล ประวัติการรักษาพยาบาล
และบทสัมภาษณ์ของเหยื่อ
เพราะข้อมูลหรือข้อเท็จจริงมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ที่สำคัญผู้ต้องหา
หรือผู้ต้องสงสัยที่มีการควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐคือผู้ที่กระทำความโหดร้าย
และมีความโหดเหี้ยมต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ เมื่อมีการมุ่งเป้าไปทำการศึกษาคนกลุ่มนี้เสมือนหนึ่งช่วยกันปกป้องโจรชั่วให้พ้นผิด พ้นมลทิน...
ความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐย่อมมีบ้าง
แต่เป็นประเด็นในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ
ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตเกินจริงที่ได้มีการนำข้อมูลมาเปิดเผยขององค์กรบางองค์กร
ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องในปัจจุบันกระบวนการซักถาม
กระบวนการควบคุมตัวผู้ต้องหา ผู้ต้องสงสัยได้กระทำอย่างเปิดเผย
หน่วยงานและองค์กรรวมไปถึงญาติและครอบครัวสามารถตรวจสอบได้
องค์กรภาคประชาสังคมที่เคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
หรือแม้กระทั่งองค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
เคยกล่าวถึงหรือปกป้องเหยื่อประชาชนผู้บริสุทธิ์หรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกกระทำจากกลุ่มขบวนการอย่างโหดเหี้ยมทารุณ
และป่าเถื่อนสักครั้งมั๊ย?..ไม่เคยมี
แม้กระทั้งการออกมาประณามกลุ่มคนอำมหิตสุดโต่งกลุ่มนี้การกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกลุ่มขบวนการ
การกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกลุ่มขบวนการที่ผ่านมามีหลายเหตุการณ์
แต่เหตุการณ์ที่นำมาซึ่งความโศกเศร้าสะเทือนใจต่อประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
คือเหตุการณ์กลุ่มขบวนการโจรใต้ได้สังหาร 2 นาวิโยธิน เสียชีวิตอย่างเหี้ยมโหด
เมื่อวันที่ 21 ก.ย.48 ในพื้นที่บ้านตันหยงลิมอ ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส
หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์กลุ่ม ผกร.ทำร้าย ครูจูหลิง ปงกำมูล
ครูโรงเรียนบ้านกุจิงลือปะ ม.4 ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส
เสียชีวิตอย่างทรมานเมื่อ 8 ม.ค.49
อยากถามไปยังองค์กรแอมเนสตี้
อินเตอร์เนชั่นแนล และบรรดาองค์กรภาคประชาสังคม
ซึ่งเป็นมือเป็นเท้าขององค์กรระหว่างประเทศ มีจิตสำนึกที่ดี
เป็นปากเป็นเสียงทำงานเพื่อสังคมจริงหรือ? หรือการเคลื่อนไหวเป็นได้เพียงแค่อาชีพๆ
หนึ่งที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ
เคลื่อนไหวแล้วรวยเพื่อดูดแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศ สร้างจุดขายให้กับองค์กรตัวเองเข้าไว้นำข้อมูลของประเทศบ้านเกิดเมืองนอนไปขายเพื่อแลกตำแหน่งใหญ่โต
เพื่อเป็นผู้อำนวยการองค์กรบางองค์กรในประเทศไทย
โดยไร้ซึ่งจิตสำนึก..น่าเศร้าใจและเจ็บใจแทนคนไทยทั้งประเทศที่ยังมีคนคิดขายชาติ
ขายแผ่นดิน นำข้อมูลมั่วๆ ไปขายให้กับฝรั่งตาน้ำข้าว..คนเยี่ยงนี้สมควรอาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินไทยอยู่อีกหรือ?..ช่างไร้ยางอาย.
-------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น