11/26/2557

การเคลื่อนไหวของ มูลนิธิประสานวัฒนธรรม เพื่ออะไร?


การเคลื่อนไหวของมูนิธิประสานวัฒนธรรม เพื่ออะไร?

แบมะ ฟาตอนี

จากการก่อเหตุของคนร้ายที่ทำการลอบวางเพลิง 6 โรงเรียน ในอำเภอทุ่งยางแดง และอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี เป็นที่มาของนโยบายทุ่งยางแดงโมเดล ที่มีการพูดกันจนติดปาก รัฐเตรียมทุ่มเงินลงไป 2 หมื่นกว่าล้าน เพื่อให้ครอบคลุม 37 อำเภอของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา

          ในขณะที่ภาครัฐให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาโดยการนำนโยบาย ทุ่งยางแดงโมเดล ไปปรับใช้ในการแก้ปัญหาของแต่ละพื้นที่ให้มีความเหมาะสม โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้าน ชุมชนของตนเอง

          แต่ในอีกฝากหนึ่งนักเคลื่อนไหวอย่าง นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ลงพื้นที่จัดอบรมความรู้เรื่องกฎหมายให้กับชาวบ้านประมาณ 100 คน ที่ทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 15 พ.ย.57 ที่ผ่านมา

          นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ได้ไปจัดการอบรมเสริมความรู้ในเรื่องกฎหมาย ให้กับชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ใกล้บริเวณที่มีเหตุการณ์การเผาโรงเรียนหกโรงในเขตอำเภอมายอและอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี เมื่อ 11 ต.ค.57 เป็นความตั้งใจ หรือเหตุบังเอิญที่ไปจัดอบรม หลังจากเจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องสงสัยเหตุลอบเผาโรงเรียน

          อีกทั้งยังเป็นความหวังดีต่อชาวบ้านด้วยการชี้แนะในการตอบคำถามเจ้าหน้าที่ การปฏิบัติในการรักษาสิทธิของตนเองในยามที่เจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นบ้าน เมื่อมีบุคคลในบ้านถูกเจ้าหน้าที่นำตัวไปจะสามารถติดตามตัวพวกเขาได้จากที่ไหน อย่างไร โดยเฉพาะในยามที่การทำงานของเจ้าหน้าที่บกพร่องไม่เป็นไปตามหลักกฎหมาย ชาวบ้านจะสามารถดำเนินการได้อย่างไรบ้าง
          นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ในเมื่อได้ลงพื้นที่คลุกคลีกับชาวบ้านน่าจะเป็นสื่อกลางในการช่วยชี้แจงทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ถึงความจำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายพิเศษติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีไม่ดีกว่าหรือ? ชี้ให้เห็นผลกระทบที่ตามมาของการทำลายสถานศึกษา การเสียโอกาสทางการศึกษาของบุตรหลานเยาวชนของพี่น้องในพื้นที่เอง จากการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง หรือ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ไม่กล้าพอ หากไปเคลื่อนไหวดังกล่าว แล้วกลัวความปลอดภัยถูกกลุ่มขบวนการหมายเอาชีวิต เลยต้องกระทำตัวเป็นแม่พระผู้ใจดีคอยช่วยเหลือผู้กระทำความผิด

          ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม น่าจะทำการศึกษาวิธีการการเชิญตัวผู้ต้องสงสัย ขั้นตอนการรวบรวมวัตถุพยานหลักฐานต่างๆ แล้วเข้าสู่กระบวนการซักถามเขาทำกันอย่างไร? แล้วนำข้อมูลที่เป็นจริงเหล่านั้นมาสร้างความกระจ่างให้ปรากฏต่อสังคม ไม่ใช่ให้ความรู้ที่ผิดๆ แก่ชาวบ้าน จนหลงทิศหลงทาง และยังได้กล่าวว่าชาวบ้านได้ไปเยี่ยมญาติที่ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว ให้เยี่ยมในเวลาที่สั้นมากกล่าวคือเพียงสองสามนาทีเท่านั้น

          การนำข้อมูลที่เป็นเท็จมาเปิดเผยโดยไม่มีการตรวจสอบ คุณกล้ามากที่ใช้ตำแหน่ง ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ที่คุณอุปโลกน์ขึ้นมาเองโดยไม่มีใครแต่งตั้ง เพื่อสร้างผลงานในการเรียกร้องขอรับเงินทุนสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศ

          การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยอยู่ภายใต้อำนาจตามกฎอัยการศึก หน่วยงานภาครัฐมีความรัดกุมทั้งข้อมูล จะต้องมีความมั่นใจ และแม่นจริงในการเชิญตัวบุคคลดังกล่าวมาดำเนินการซักถามหากผู้ต้องสงสัยนั้นไม่มีข้อมูลเชื่อมโยงในการกระทำความผิดจะมีการปล่อยตัวโดยเร็ว

          ตามที่ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ได้กล่าวถึงมาตรฐานในการควบคุมตัว คือมีการตรวจรับตัวบุคคล ตรวจร่างกายเพื่อให้ชัดเจนว่าไม่ได้ถูกทำร้ายมาก่อนนั้น กรณีเช่นนี้คงจำกันได้ที่เคยตกเป็นข่าวอื้อฉาว กรณีออกมาให้ข่าวมีการซ้อมทรมานผู้ต้องสงสัยรายหนึ่งในจังหวัดยะลา นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ท่านนี้แหละที่ออกมาเคลื่อนไหวกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่รัฐซ้อมผู้ต้องสงสัย แต่เมื่อความจริงปรากฏกลับไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตนที่ได้สร้างความเสื่อมเสียต่อหน่วยงานภาครัฐ

          เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 กองทัพไทยแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาต่อนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (มูลนิธิผสานฯ) จากกรณีที่มูลนิธิผสานฯ เรียกร้องให้มีการสอบสวนข้อกล่าวหาว่ามีการทำร้ายร่างกายผู้ถูกควบคุมตัว โดยแจ้งความข้อหาหมิ่นประมาททำให้กรมทหารพรานที่ 41 จังหวัดยะลา ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง

          การออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันวิธีการหลีกเลี่ยงความผิดให้กับตนเองด้วยการโยนให้กับญาติผู้ถูกควบคุมตัว โดยการตั้งข้อสงสัยว่าเจ้าหน้าที่อาจมีการทำร้ายร่างกายบุคคลในครอบครัวหรือไม่ระหว่างการสอบปากคำที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร โดยญาติของผู้ถูกควบคุมตัวตั้งข้อสังเกตว่าพบเห็นร่องรอยที่หน้า มีสภาพอิดโรย มีอาการซึมเศร้า นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ใช้ลูกไม้เดิมๆ ตีหัวแล้ววิ่งหนีเข้าบ้านอีกตามเคย

          สุดท้าย ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เหมือนตบหัวแล้วลูบหลัง ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า คดีการเผาโรงเรียนที่ทุ่งยางแดงนับว่าเป็นกรณีที่หลายฝ่ายติดตามอยากเห็นผล แต่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ต้องทำคดีด้วยความรอบคอบเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้มีการคลี่คลายความขัดแย้งที่ยั่งยืนมากกว่า...

          ผู้เขียนอยากฝากท่านผู้อ่านช่วยกันตรวจสอบการเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรที่มีนัยแอบแฝงในการลงพื้นที่ทำกิจกรรม แล้วสร้างกระแสข่าวเพื่อองค์กรของตัวเองบนความทุกข์ร้อนของประชาชน ยิ่งไปกว่านั้นมีการปลุกเร้ากระแสสร้างความเกลียดชัง สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้น ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน..มีการออกมาเคลื่อนไหวให้ข่าวว่าเจ้าหน้าที่มีการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัว ซึ่งเป็นการกล่าวให้ร้ายทั้งๆ ที่ไม่มีมูลความจริง.....แล้วองค์กรเหล่านี้เคลื่อนไหว..เพื่อวัตถุประสงค์อะไร?...และเพื่อใคร?

----------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น