แบมะ ฟาตอนี
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2557 นางสาวรอมือละห์ แซยะ ภรรยานายมูฮาหมัด
อัณวัร (อันวาห์) ผู้ต้องขังคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ได้ออกมาเปิดเผยต่อสื่อมวลชน กรณี ตนเองได้ส่งหนังสือร้องเรียนถึงคณะทำงานว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการแห่งสหประชาชาติ
(UN Working Group on Arbitrary Detention) กรณีการควบคุมตัวนายมูฮาหมัด อัณวัร ถือเป็นการกระทำโดยพลการตาม Categories
III และ V “การควบคุมตัวนายมูฮาหมัดอัณวัร
หะยีเต๊ะ หรือ นายมูฮาหมัด อัณวัร หรือ อันวาห์ ถือว่าละเมิดข้อ 9 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”
นางสาวรอมือละห์ แซยะ จึงร้องขอให้รัฐบาลไทยจัดให้มีการเยียวยาต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
และให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐาน
และหลักการที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกติกา
ICCPR
คณะทำงานว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการแห่งสหประชาชาติ มีความเห็นว่า
การเยียวยาที่พอเพียง
โดยรัฐมีหน้ามีหน้าที่ต้องจัดให้มีการชดเชยเนื่องจากการละเมิดสิทธิของเขา
และเป็นหน้าที่ที่บังคับใช้ได้ตามคำสั่งศาลในประเทศ โดยขอให้รัฐบาลไทยชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
และข้อกฎหมายที่ใช้ในการสนับสนุนการควบคุมตัวนายมูฮาหมัด อัณวัร และนางสาวรอมือละห์
แซยะ ขอเรียกร้องตามเดิมคือคืนความเป็นธรรมให้กับสามี
จากการตรวจสอบแหล่งข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ กองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ
พบว่า เป็นเพียงกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่สหประชาชาติ (UN) ได้กระทำเป็นปกติอยู่แล้ว
หลังจากได้รับเรื่องร้องเรียน มิใช่หนังสือแจ้งว่าเจ้าหน้าที่ได้ละเมิดสิทธินายมูฮาหมัด
อัณวัร แต่ประการใด และกรณีดังกล่าวได้เกิดก่อนจะมีการรัฐประหาร เมื่อ 22 พ.ค.57
ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
หากเกิดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ
เพื่อผดุงความยุติธรรมอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การจ่ายเงินเยียวยาตามที่ภรรยาของนายมูฮาหมัด
อัณวัร ร้องขอ ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสหประชาชาติเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี
‘อันวาห์’
เมื่อ
6 พ.ค.56 โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้ชี้แจงเหตุจำคุก
12 ปี “มูฮาหมัดอัณวัร”นักข่าวอิสระ ตามที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกนายมูฮาหมัด
อัณวัร หะยีเต๊ะ ผู้ต้องหาในคดีร่วมกันก่อการร้ายเป็นอั้งยี่ ซ่องโจร เป็นเวลา 12
ปี นั้น เป็นไปตามกระบวนการขั้นตอนศาลยุติธรรมของประเทศไทย
กระบวนการยุติธรรมในการพิจารณาคดีของศาลประเทศไทย ดำเนินภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญที่แบ่งออกเป็น
3 ฝ่าย แยกกันอย่างชัดเจน คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ, ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ
ซึ่งทั้ง 3 ฝ่ายนี้จะทำงานอย่างอิสระไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถเข้าไปแทรกแซง
บีบบังคับ หรือกดดันฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ แม้แต่ประชาชน ข้าราชการ ภาครัฐวิสาหกิจ
หรือองค์อิสระ
ผู้พิพากษาของประเทศไทยปฏิบัติหน้าที่ในนามขององค์พระมหากษัตริย์
ซึ่งเป็นองค์ศาสนูปถัมภก คือให้การอุปถัมภ์ในทุกศาสนาไม่แบ่งแยก
หรือเลือกการปฏิบัติทั้งศาสนาพุทธ อิสลาม คริสต์ และศาสนาอื่นๆ ดังนั้นการอ้างอิงถึงความไม่ยุติธรรมจากเรื่องศาสนาจึงไม่มีเหตุผลอันควร
สำหรับกระบวนการยุติธรรมของศาลไทย อีกทั้งผลการพิจารณาของศาลไทยมิได้มีผลความเชื่อถือเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่ยังรวมถึงสามารถนำไปประกอบเป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีในระดับสากล
กระบวนการศาลศาลยุติธรรมของไทย มีขั้นตอนที่ได้ให้ความเสมอภาคระหว่างจำเลยและผู้กล่าวหา
ตลอดจนยึดถือหลักสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมอยู่ในตัว โดยทุกคดีจำเลยจะมีสิทธิในการร้องขอความเป็นธรรม
คดีของนายมูฮาหมัด อัณวัร
ยังมีข้อสงสัยในพฤติกรรมอันมีผลต่อความมั่นคง สันติสุขของประชาชน ชุมชน และของประเทศ
จึงได้มีการเสนอเรื่องให้พิจารณาในระดับสูงสุดคือ ศาลฎีกา
ด้วยพยานหลักฐานที่ครบถ้วน และมีความชัดเจนมิอาจโต้แย้งได้
ศาลฎีกาจึงได้พิจารณายืนตามศาลชั้นต้น คือ จำคุกนายมูฮาหมัด อัณวัร เป็นเวลา 12 ปี
รวมระยะเวลาที่คณะผู้พิพากษาได้ให้โอกาสแก่จำเลยคือ นายมูฮาหมัด อัณวัร
และอัยการในฐานะทนายความของรัฐ เป็นระยะเวลา 7 ปี 8 เดือน 13 วัน
นับว่าเพียงพอต่อการให้ความยุติธรรมแก่ทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว
ศาลมีหลักฐานหลัก คือคำซัดทอดจากการให้การของบุคคล 4 คน คนเหล่านี้คือ นายมะตอเห สะอะ นายอับดุลเลาะ
สาแม็ง นายสะตอปา ตือบิงหมะ และนายมะสุกรี สารอ ทั้งสี่คนยอมรับสารภาพกับเจ้าหน้าที่ว่ามีส่วนร่วมในการฆ่าตัดคอดาบตำรวจสัมพันธ์อ้นยะลา ตำรวจยะรัง และมีการซัดทอด อันวาห์ มีส่วนร่วมในการกระทำในครั้งนี้ด้วย
จากเอกสารคำพิพากษาสรุปข้อมูลออกมาได้ว่า ทั้งหมดนี้เป็นผลจากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำคดีฆ่าดาบตำรวจ
นำไปสู่การสอบสวนกลุ่มนักเรียนจากโรงเรียนปอเนาะสองแห่งคือประสานวิทยาหรือปอเนาะพงสตา
กับโรงเรียนบุญบันดานหรือปอเนาะแนบาแด โดยเจ้าหน้าที่ได้ตามรอยการใช้โทรศัพท์ของดาบตำรวจสัมพันธ์และพบว่ามีนักเรียนคนหนึ่งนำโทรศัพท์ไปใช้ และมีการติดต่อกับนักเรียนหลายคนของทั้งสองโรงเรียน ตำรวจจึงได้เข้าตรวจค้นและจับกุม
แล้วนำตัวนักเรียนทั้งสี่บวกกับอีกหลายคนไปสอบปากคำ
เป็นที่มาของการได้คำให้การต่างๆของคนทั้งสี่ที่ยอมรับว่าเป็นบีอาร์เอ็นซึ่งเป็นหลักฐานหลัก
การเคลื่อนไหวของนายมูฮาหมัด อัณวัร ยังไม่จบเพียงแค่นี้
โดยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2556 ซึ่งเป็นวัน “สันติภาพสากล” ยังได้เขียนจดหมายจากเรือนจำกลางจังหวัดปัตตานี
ส่งถึง “แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล” หรือองค์การนิรโทษกรรมสากล
เพื่อทำการเรียกร้องว่า อยากให้รัฐบาลไทยนิรโทษกรรมผู้ต้องขังคดีความมั่นคง
ที่เป็นผลมาจากการใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ
ทำให้การติดตามจับกุมและปฏิบัติตามกฎหมาย
เพื่อให้กระบวนการสร้างสันติภาพดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น ล่าสุดเตรียมยื่นถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ
ในส่วนของความเคลื่อนไหวในเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการประกาศใน Facebook : เพื่อนอันวาห์-Save
Anwar เพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้ที่รู้จักนายมูฮาหมัด อัณวัร
ให้ช่วยรับรองความประพฤติ ว่าเป็นผู้ที่มีสำนึกในสันติภาพ ไม่ได้สนับสนุน หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุรุนแรง
เพื่อแนบเอกสารการขอพระราชทานอภัยโทษต่อไป
ผู้ที่ทำการเคลื่อนไหวคือ นางรอมือละห์ แซยะ
ผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนอาสา จังหวัดนราธิวาส
และเครือข่ายภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สำคัญยังได้เป็นภรรยาของนายมูฮาหมัด
อัณวัร จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมจึงได้ดิ้นพล่าน
ทำทุกวิถีทางที่จะนำตัวสามีออกมาจากคุกให้ได้ ถึงแม้ว่าลงทุนลงแรงฟ้องร้องต่อ UN ชักศึกเข้าบ้านให้ต่างชาติเข้ามาทำการตรวจสอบก็ตามที
ในส่วนของแกนนำองค์กร เครือข่ายภาคประชาสังคม ที่เป็นแนวร่วมได้ทำการขับเคลื่อนลงนามในหนังสือรับรองความประพฤติให้กับนายมูฮาหมัด
อัณวัร โดยระบุว่า เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย
และทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมด้วยความเสียสละ อุตสาหะ มาโดยตลอด ประมาณ 50 คน
อาทิเช่น นายอาเต็ฟ โซ๊ะโก
หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศสำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา นายตูแวดานียา
ตูแวแมแง ผอ.สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR) นายแพทย์อนันตชัย
ไทยประทาน ที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม
ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ และ นางสาวโซรยา จามจุรี
ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้
จากรายชื่อข้างต้นถือได้ว่าเป็นแนวร่วมเครือข่ายที่ทำการขับเคลื่อนงานมวลชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
หรือเป็นฝ่ายการเมืองที่พยายามสร้างกระแสการกำหนดใจตนเองมาโดยตลอด จากพฤติกรรมของ นายมูฮาหมัด
อัณวัร กับคำรับรองที่แนวร่วมเครือข่ายพยายามล่ารายชื่อเพื่อยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
มันช่างขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย
มีความเที่ยงตรง ผลการตัดสินของศาลฎีกา
ซึ่งเป็นศาลสูงสุดถือได้ว่าคดีความถึงที่สุดแล้ว และศาลฎีกาได้ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้น
แต่ก็ยังมีกลุ่มเครือญาติ และภาคประชาสังคมยังคงมีการเคลื่อนไหวโดยใช้สันติวิธี
(non-violent) อยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนางรอมมือละห์ ภรรยานายมูฮาหมัด
อัณวัร เตรียมยื่นถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ พร้อมทั้งเดินเกมส์ ล่าลายชื่อรับรองความประพฤติ
และยังยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ UN
เกี่ยวกับการควบคุมตัวโดยพลการ
ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลไทยทั้งๆ ที่ศาลให้โอกาสนายมูฮาหมัด
อัณวัร พิสูจน์ตนเองนานถึง 7 ปี 8 เดือน ยังไม่เพียงพออีกหรือ....
-----------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น