"Ibrahim"
ไม่เพียงปัญหาการก่อความไม่สงบรายวันที่สร้างความหวาดกลัวให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด อย่างกว้างขวางในหมู่เยาวชนยังสร้างภาระให้ชาวบ้านที่ปลายด้ามขวานทั้งพุทธและมุสลิมไม่น้อย
พร้อมคำถาม ใคร? คือผู้ที่ "มอมเมา" เยาวชน
คำถาม ใคร? คือผู้ที่ "มอมเมา"
เยาวชนให้ติดยาเสพติดอาจจะไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นใคร แต่นับว่าเป็นมิติปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย กอ.รมน.ภาค 4 สน. มีนโยบายเร่งด่วนใช้มาตรการปราบปรามยาเสพติดซึ่งเป็นทุกข์ของชาวบ้านจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ส่งผลให้ปัญหาการค้า ปัญหาการแพร่ระบาดลดลงในระดับหนึ่ง แต่ใน "เบื้องลึก"
ปัญหายาเสพติดกลับพบข้อมูลความเกี่ยวพันโดยตรงอย่างเป็นรูปธรรมระหว่าง "กลุ่มผู้ค้า"
และ "ผู้เสพยาเสพติด" กับ "กลุ่มผู้ก่อเหตุความรุนแรง"
มีส่วนเกี่ยวพันหรือเป็น "สถานการณ์คู่ขนานกัน" ในแบบระนาบข้างกับเหตุการณ์ก่อความไม่สงบไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม
ปัญหายาเสพติดกับ "ปัญหาความมั่นคง"
นักค้ายาเสพติดรายสำคัญในพื้นที่พื้นที่
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
มีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีอิทธิพลอื่น เช่น ค้าของหนีภาษี การพนัน ค้ามนุษย์ ฯลฯ
คนกลุ่มนี้บางส่วนอาจจะเป็น "แหล่งเงินทุน" ให้กับผู้ก่อความไม่สงบโดยเป็นกลไกทางเศรษฐกิจ
"กลุ่มผู้เสพ" ซึ่งอายุอยู่ในช่วง 15-24 ปี
เป็น "เยาวชนว่างงาน" มีความเกลียดชังราชการ
มีการใช้ยาและขาดแรงจูงใจในตนเอง
พร้อมที่จะถูกชักจูงให้ก่อความปั่นป่วนในสังคมได้ง่าย
ความสัมพันธ์ทางอ้อมในแง่เป็นฐานทางเศรษฐกิจ
และอาจจะเป็นผู้ได้ประโยชน์หรือฉกฉวยประโยชน์กับปัญหาความมั่นคงและความไม่สงบในพื้นที่
ในสภาพการณ์ที่เจ้าหน้าที่มีความระมัดระวังปัญหาในด้านความไม่สงบในพื้นที่จนไม่สามารถควบคุมดูแลปัญหายาเสพติด
การกวาดล้างยาเสพติดในพื้นที่
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในระดับผู้ค้าหลายครั้งมีการยึดอาวุธปืนสงคราม กระสุนได้เป็นจำนวนมากเมื่อมีการตรวจสอบอาวุธปืนเหล่านั้นกลับพบว่า
"เชื่อมโยงกับการก่อเหตุ" จึงอนุมานได้ว่าเป็น "โลกสองใบ"
ของ "ผกร." สถานะที่หนึ่งมีสถานะเป็น "RKK" อีกสถานะหนึ่งเป็น "ผู้ค้ายาเสพติด"
เป็นผู้เล่น "ในคน คนเดียวกัน.."
สถานะสลับไปสลับมา.. แต่ยังมีปัญหาเรื่อง "คบซ้อน" ในสองขั้วปัญหาไฟใต้ที่มีหมวกอยู่
2 ใบ
ส่วนโลกอีกใบที่ถือเป็น "โลกแห่งความเป็นจริง
" คือการอยู่ในสถานะ "ผู้ค้ายาเสพติด" ของ "ผกร."
เป็นการหาลำไพ่พิเศษโดยอาศัยสถานการณ์ปิดบังอำพรางซึ่งไม่ต่างอะไรกับ "ชัยฏอน"
ที่มอมเมาเยาวชนให้ติดยาเสพติด ยัดเยียดความเดือดร้อนให้กับประชาชน ดังนั้น "กรอบความคิด" คือ "การตัดวงจรทุน"
ของกลุ่มการค้ายาเสพติด
มิให้ทุนของกลุ่มการค้ายาเสพติดเข้าไปสนับสนุนการก่อความไม่สงบทั้งทางตรงและทางอ้อม
ส่วน "ปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติด" เป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชนและสังคมอย่างกว้างขวาง
และเป็นสิ่งที่ประชาชนในพื้นที่เรียกร้องต้องการแก้ไขปัญหา ขบวนการค้ายาเสพติดโยงใยกับการก่อความไม่สงบในพื้นที่
3 จังหวัดภาคใต้ กรณีการจับกุม นางปาดีเมาะ สะแลแม น.ส.นรินทร์ มามะ และ
น.ส.โนรีชา ยูโซ๊ะ เมื่อ 17 มี.ค.55 ซึ่งเป็นเครือข่ายค้ายาเสพติดใหญ่ในภาคใต้ของ นายยุสรี
เปาะดาโอ๊ะ จากการตรวจสอบวงจรการเงินของขบวนการค้ายาเสพติดกลุ่มนี้พบว่ามีการ "โอนเงินกว่า
10 ล้านบาท" ให้กับแกนนำกลุ่ม"RKK" ใช้เคลื่อนไหวก่อเหตุร้ายเพื่อเบี่ยงเบนเจ้าหน้าที่
ทำให้ขบวนการค้ายาเสพติดได้สะดวก..
---------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น