7/09/2562

ยกเลิก“กฎอัยการศึก”หมากเกมใหม่ของ PerMAS



การสร้างแคมเปญรณรงค์ของ สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี หรือ PerMAS ในเว็บไซต์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง (change.org) เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา เห็นด้วยกับการยกเลิกการบังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้/ปาตานีหรือไม่ ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวมีผู้ใช้งาน 297,830,235 คนทั่วโลก


          โดยส่วนขยายใจความมีการให้รายละเอียดว่า การประกาศใช้กฎอัยการศึก เป็นการให้ทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน อำนาจในการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย เมื่อสอบถามแล้วหายสงสัยก็จะปล่อยตัวกลัว และสามารถเชิญตัวมาอีกได้ครั้งถัดไปได้ ถือเป็นกฎหมายที่มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเป็นเหตุให้ไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกมากมาย
          ความพยายามของสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี หรือ PerMAS มีการปลุกกระแสและชี้นำให้ประชาชนคิดต่างจากรัฐในเรื่องต่างๆ บรรดาสาวกในเครือข่าย PerMAS  เป็น อิควานมุสลิมีน ที่มีความมักใหญ่ใฝ่สูงต้องการผลักดันแนวทางการขับเคลื่อนด้านสิทธิในการกำหนดใจตนเอง (Right to Self-Determination) ในพื้นที่ จชต. มีการสร้างการรับรู้ทั้งในพื้นที่ นอกพื้นที่ รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศให้เห็นว่าในพื้นที่แห่งนี้ เป็นพื้นที่สงคราม มีความขัดแย้งด้านอาวุธ และมีการละเมิดสิทธิมนุษยธรรม
          การสร้างแคมเปญรณรงค์ เห็นด้วยกับการยกเลิกการบังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้/ปาตานีหรือไม่ ความพยายามที่ผ่านมาของ PerMAS ในการเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ จชต. นั้น เพื่ออะไร? และใครได้ประโยชน์
          หากมีการกล่าวอ้างเคลื่อนไหวเพื่อประชาชน ถามว่าประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันต่อการประกาศใช้กฎหมายพิเศษหรือไม่? จากการลงพื้นที่สอบถามความรู้สึกคำตอบที่ได้รับทุกคนต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า แทบไม่รู้สึกและไม่มีความแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ของประเทศที่มีการใช้กฎหมายปกติ จะมีบ้างที่มีด่านตรวจเพื่อทำการตรวจตราสแกนหาสิ่งผิดกฎหมายและคนร้ายซึ่งแตกต่างจากพื้นที่อื่น
          กฎหมายพิเศษกับสามจังหวัดชายแดนใต้และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา มีการบังคับใช้กฎหมายสามฉบับด้วยกัน กล่าวคือ หนึ่ง กฎอัยการศึก สอง พระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พรก.ฉุกเฉิน) และ สาม มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
          การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงจะมีการพิจารณาทุกสามเดือน รัฐมีแผนผ่อนปรนและยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตลอดจนกฎอัยการศึกในบางพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่มีเหตุรุนแรง เช่นในพื้นที่อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ จะนะ เทพา สะบ้าย้อย และนาทวี จะไม่ใช้กฎอัยการศึกแต่ใช้มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 แทน เพื่อยืดหยุ่นให้แนวร่วมขบวนการเข้ารับการอบรมแทนการลงโทษได้
          เมื่อสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี หรือ PerMAS มีการรณรงค์สร้างแคมเปญร่วมลงชื่อยกเลิกการบังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ปาตานี อีกทั้งการเคลื่อนไหวมิได้มุ่งเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนด้วยใจจริง แต่กระทำทุกวิถีทางเพื่อองค์กรและขบวนการที่ขับเคลื่อนงานการเมืองต้องการกำหนดใจตนเอง สรุปการยกเลิก กฎอัยการศึก เปรียบเสมือนหมากเกมใหม่ที่ต้องการสร้างกระแสกดดันรัฐบาลในช่วงยุคประชาธิปไตยหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดิมคือการแบ่งแยกดินแดน
-------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น